วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553

แนวข้อสอบจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ

แนวข้อสอบนี้พี่เคยลงไว้ให้แล้ว บางคนอาจหาไม่เจอพี่เลยเอามาลงให้ใหม่นะคะ ชุดที่ 1 หามาจากในเว็บ จำไม่ได้แล้วว่าเว็บไหน ส่วนชุดที่ 2 พี่ปอยลองแต่งข้อสอบให้น้องๆ ทำดู ซึ่งเมื่อปีที่แล้ว ข้อสอบวิชานี้ก็ออกแนวๆ นี้ค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553

แนวข้อสอบคณิตศาสตร์ (อุปมาอุปไมย)

ปีที่แล้ววิชาคณิตศาสตร์ ออกสอบอุปมา อุปไมย หลายข้อ เพราะฉะนั้นพี่คิดว่า หากน้องๆ ได้ฝึกทำข้อสอบอุปมาอุปไมยบ่อยๆ น่าจะดี ฝึกคิดวิเคราะห์ให้ดีๆ นะคะ

วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2553

แนวข้อสอบวิชาภาษาไทย

พอดีวันนี้ว่างก็เลยเข้าหาแนวข้อสอบวิชาภาษาไทยให้น้องๆ ไปเจอแนวข้อสอบที่คล้ายๆกับข้อสอบวิชาภาษาไทยของปีที่แล้ว

วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2553

แนวข้อสอบวิชาคอมพิวเตอร์ Internet

ตามสัญญาที่ให้ไว้นะคะ รวบรวมแนวข้อสอบ Internet มาให้แล้ว

วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553

แนวข้อสอบวิชาคอมพิวเตอร์ Microsoft PowerPoint

ช่วงนี้มีเรียกเตรียมการณ์ที่ ตร. ค่ะ พี่เลยไม่มีเวลามาอัพเดตให้น้องๆ และต้องขออภัยด้วยที่ไม่ได้ตอบคำถามของน้องๆ นะคะ วันนี้ก็เลยเอาแนวข้อสอบคอมพิวเตอร์มาฝากค่ะ อ้อ วันพรุ่งนี้จะมีแนวข้อสอบ Internet ด้วยนะคะ ติดตามต่อพรุ่งนี้จ๊ะ หากสงสัยอยากทราบเรื่องใด ก็คอมเม้นต์ในบทความนี้เลยนะคะ บทความเดียวพอ แล้วพี่จะเข้ามาตอบค่ะ

วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553

แนวข้อสอบวิชาคอมพิวเตอร์ Microsoft Excel

ตามคำเรียกร้องของน้องๆ พี่พอจะหามาได้แค่นี้นะคะ ช่วงนี้ไม่ค่อยมีเวลาเลยค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2553

แนวข้อสอบวิชาคอมพิวเตอร์ Microsoft Word

มีน้องๆ หลายคนที่อยากได้แนวข้อสอบคอมพิวเตอร์นะคะ

วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553

ทดสอบตาบอดสี

ในขั้นตอนของการตรวจร่างกายของผู้สอบผ่านข้อเขียน มีการทดสอบตาบอดสีด้วย ซึ่งหากใครทดสอบไม่ผ่าน ก็ถือว่า สอบไม่ผ่าน โดยการทดสอบตาบอดสีนั้น มีหลายวิธี วิธีที่ได้รับความนิยมสูงสุดเห็นจะเป็นวิธีของ Prof. Dr. Shinobu Ishihara จาก Tokyo คือ แบบทดสอบที่มีวงกลมวงใหญ่และมีจุดสีเล็กๆ ข้างในจะซ่อนตัวเลขและเส้นเอาไว้ ให้ผู้ทดสอบอ่าน หากสามารถอ่าน และลากเส้นได้ถูกต้องทั้งหมด ถือว่าตาปกติ ทั้งนี้ได้นำมาให้ลองทดสอบ 12 แบบ
ตาปกติ และตาบอดสี จะอ่านได้หมายเลขเดียวกันคือ 12


ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 29
ตาบอดสีแดง-เขียวจะอ่านได้หมายเลข70
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านได้

ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 3
ตาบอดสีแดง-เขียวจะอ่านได้หมายเลข 5
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านได้
 
 
ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 74
ตาบอดสีแดง-เขียวจะอ่านได้หมายเลข 21
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้

ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 45
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านได้

ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 7
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้
 
ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 73
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้
 
 
ตาปกติจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้
ตาบอดสีแดง-เขียวจะอ่านได้หมายเลข 45
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้

ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 42


ตาปกติจะไม่สามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้
ตาบอดสีแดง-เขียว จะสามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้
ตาบอดสีจะไม่สามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้

ตาปกติจะสามารถลากเส้นตามสีส้มจาก X ไป X ได้
ตาบอดสีจะไม่สามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้ หรือลากได้ก็คนละเส้นทาง

ตาปกติจะสามารถลากเส้นตามสีม่วง ต่อกับสีส้ม จาก X ไป X ได้
ตาบอดสีแดง-เขียวจะลากเส้นตามสีม่วง ต่อกับสีฟ้า-เขียว จาก X ไป X ได้
ตาบอดสีจะไม่สามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้ หรือลากได้ก็คนละเส้นทาง
 
ที่มา : http://www.mmtc.ac.th/Entrance49/BlindTest.php

วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

พรก. และ กพร.

   ในช่วงประเทศไทยเราในบริบทของความเปลี่ยนแปลงในการบริหารราชการใหม่ ๆ ที่มีการผสมผสานแนวคิดทั้งจากการบริหารธุรกิจของเอกชน และการบริหารงานภาครัฐกิจ มีแนวโน้มที่จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่อง ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ และวิธีการทำงานของข้าราชการในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก ซึ่งการปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติราชการดังกล่าวปรากฏว่ายังมีการนำหลักการดังกล่าวไปปรับปรุงระบบและวิธีปฏิบัติงานในส่วนราชการไม่มากเท่าที่ควร ซึ่งจะมีผลต่อการบริหารบุคคลภาครัฐและการปรับปรุงโครงสร้างภาครัฐ และพัฒนาระบบการปฏิบัติงานในองค์กรต่าง ๆ ของราชการไทย ฯลฯ

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ เพื่อการพัฒนาระบบราชการไทยขึ้น โดยกำหนด เรียกว่า แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย(พ.ศ. 2546 - 2550)

คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2546 - 2550 ขึ้น โดยได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ใหม่ของการพัฒนาระบบราชการในช่วงระยะปี พ.ศ. 2546 - 2550 ว่า

“พัฒนาระบบราชการไทยให้มีความเป็นเลิศ สามารถรองรับกับการพัฒนาประเทศในยุคโลกาภิวัฒน์ โดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและประโยชน์สุขของประชาชน”

โดยกำหนดเป้าประสงค์ ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน และแนวทางการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ ไว้ดังนี้

เป้าประสงค์หลักของการพัฒนาระบบราชการไทย 4 ประการ

- พัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนที่ดีขึ้น

- ปรับบทบาท ภารกิจ และขนาดให้มีความเหมาะสม

- ยกระดับขีดความสามารถและมาตรฐานการทำงานให้อยู่ในระดับสูงเทียบเท่าเกณฑ์สากล

- ตอบสนองต่อการบริหารปกครองในระบอบประชาธิปไตย

ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย มี 7 ประการ ได้แก่

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงาน

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน

ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การรื้อปรับระบบการเงินและการงบประมาณ

ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การสร้างระบบบริหารงานบุคคลและค่าตอบแทนใหม่

ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยม

ยุทธศาสตร์ที่ 6 : การเสริมสร้างระบบราชการให้ทันสมัย

ยุทธศาสตร์ที่ 7 : การเปิดระบบราชการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม

    การจะนำยุทธศาสตร์ทั้ง 7 ไปสู่การปฏิบัติตามแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ต้องมีเครื่องมือต่าง ๆที่จะนำยุทธศาสตร์ทั้ง 7 ข้อนี้ ไปปฏิบัติ จึงต้องตราเป็นพระราชกฤษฏีกา (พรก. ) ขึ้น โดยอำนาจตามความในมาตรา 221 ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับหลักการตามมาตรา 3/1 และ มาตรา 71/10 (5) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5)พ.ศ. 2545 จึงเกิด พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ขึ้น

ฉะนั้นคงเข้าใจ คำว่า กพร. และ พรก.แล้วนะคะ

คัดลอกจาก คุณ von (ชะแล้ว)(vorapon_k@hotmail.com)

วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553

หนังสือราชการภาษาอังกฤษ

หนังสือราชการภาษาอังกฤษ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ หนังสือที่ลงชื่อ  และ  หนังสือที่มิต้องลงชื่อ

หนังสือที่ลงชื่อ มี 3 ชนิด ได้แก่

หนังสือราชการที่เป็นแบบพิธี (First Person Formal Note) มี 2 แบบ คือ แบบที่ใช้ในการติดต่อทางการทูตระหว่างส่วนราชการไทยกับส่วนราชการต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ และแบบที่ใช้ในการติดต่อระหว่างส่วนราชการไทยกับหน่วยงานทั่วไป

หนังสือราชการที่ไม่เป็นแบบพิธี (First Person Informal Note) ใช้ใน 2 กรณี คือ ส่วนราชการไทยมีไปถึงส่วนราชการต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ และ ส่วนราชการไทยมีไปถึงหน่วยงานเอกชน เป็นหนังสือที่เขียนโดยใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 และต้อง ลงชื่อ ใช้สำหรับเรื่องที่มีความสำคัญลดหลั่นมาจากหนังสือราชการที่เป็นแบบพิธี เช่น การสืบถามข้อความหรือขอทราบข้อเท็จจริงบางประการ นอกจากนั้น อาจใช้ติดต่อกับส่วนราชการ ต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศในกรณีที่ประสงค์จะเน้นความสัมพันธ์ส่วนบุคคล

หนังสือกลาง ( Third Person Note หรือ Note Verbale) คือ หนังสือราชการที่ใช้สรรพนามบุรุษที่ 3 และประทับตราชื่อส่วนราชการ โดยหัวหน้าส่วนราชการระดับกองหรือผู้ที่หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปมอบหมาย หนังสือประเภทนี้เป็นหนังสือที่ส่วนราชการไทยใช้ติดต่อกับส่วนราชการต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ โดยทั่วไปให้เขียนจากหน่วยงานถึงหน่วยงาน แต่ในบางกรณีอาจเขียนจากตำแหน่งถึงตำแหน่งก็ได้

หนังสือที่มิต้องลงชื่อ มี 2 ชนิด ได้แก่

บันทึกช่วยจำ ( Aide-Memoire) คือ หนังสือที่ใช้สำหรับยืนยันข้อความในเรื่องที่ได้สนทนา เช่น ชี้แจงข้อเท็จจริง ขอร้องเรื่องต่าง ๆ หรือประท้วงด้วยวาจา หรือแสดงท่าทีให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ โดยปกติใช้ยื่นให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งหรืออาจส่งไปโดยมีหนังสือนำส่งก็ได้

บันทึก ( Memorandum) คือ หนังสือที่ใช้สำหรับแถลงรายละเอียดหรือแสดงข้อเท็จจริง ให้ความเห็นหรือโต้แย้งหรือแสดงท่าที โดยปกติใช้ยื่นให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งหรืออาจส่งไปโดยมีหนังสือนำส่งก็ได้

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

คำราชาศัพท์ที่มักใช้เป็นประจำในหนังสือราชการ

       คำกริยาราชาศัพท์และคำนามราชาศัพท์ที่มีความหมายเดียวกัน แต่ใช้ต่างกันตามลำดับพระอิสริยศักดิ์ จะขอกล่าวเฉพาะคำที่มักใช้เป็นประจำในหนังสือราชการ

     คำสั่ง     พระบรมราชโองการ พระมหากษัตริย์
                    พระราชโองการ พระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระราชินีนาถต่างประเทศ
                    พระราชเสาวนีย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชินี, สมเด็จพระบรมราชชนนี
                    พระเสาวนีย์ สมเด็จพระราชินี และพระราชินี ต่างประเทศ
                    พระราชบัณฑูร, พระราชดำรัสสั่ง สมเด็จพระยุพราช
                    พระราชบัญชา, พระราชดำรัสสั่ง สมเด็จพระบรมราชกุมารี
                    พระราชดำรัสสั่ง, พระบัญชา พระราชวงศ์ ,สมเด็จพระสังฆราช

     คำพูด    พระราชดำรัส, พระราชกระแส พระมหากษัตริย์ ,พระราชวงศ์ชั้นสูง
                    พระดำรัส, ตรัส, รับสั่ง พระราชวงศ์

     คำสอน  พระบรมราโชวาท พระมหากษัตริย์
                    พระราโชวาท พระราชวงศ์ชั้นสูง
                    พระโอวาท พระราชวงศ์

     อุปถัมภ์  พระบรมราชูปถัมภ์ พระมหากษัตริย์
                    พระบรมราชินูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระราชินี
                    พระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมราชชนนี, สมเด็จพระยุพราช, สมเด็จพระบรมราชกุมารี
                    พระอุปถัมภ์ พระราชวงศ์

     อนุเคราะห์  พระบรมราชานุเคราะห์ พระมหากษัตริย์
                          พระราชานุเคราะห์ พระราชวงศ์ชั้นสูง
                          พระอนุเคราะห์ พระราชวงศ์

      คำวินิจฉัย  พระบรมราชวินิจฉัย พระมหากษัตริย์ที่ทรงรับพระบรมราชาภิเษกแล้ว
                          พระราชวินิจฉัย พระมหากษัตริย์ทั่วไป สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และพระราชวงศ์
                                 ที่ดำรงพระอิสริยศักดิ์สูงทรงเศวตฉัตร ๗ ชั้น
                          พระวินิจฉัย พระราชวงศ์ชั้นเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า

      ความคิด   พระราชดำริ พระมหากษัตริย์ และ พระราชวงศ์ชั้นสูง
                         พระดำริ พระราชวงศ์

      รู้     ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท พระมหากษัตริย์ , สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
             ทราบฝ่าละอองพระบาท พระบรมวงศ์ชั้นสูง
             ทราบฝ่าพระบาท, ทรงทราบ พระราชวงศ,์ พระองค์เจ้า, หม่อมเจ้า

      ให้   พระราชทาน พระมหากษัตริย์ และพระราชวงศ์ ตั้งแต่ชั้นเจ้าฟ้าขึ้นไป
              ประทาน พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า
      ให้   ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์
              (ของเล็ก) ชั้นสูง น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย (ของใหญ่หรือของจำนวนมาก) ถวาย (สิ่งที่เป็นนามธรรม)

      ถวาย พระราชวงศ,์ พระสงฆ์

      ตาย สวรรคต, เสด็จสวรรคต พระมหากษัตริย์ และพระราชวงศ์ ชั้นสูง
              ทิวงคต, เสด็จทิวงคต พระมหากษัตริย์ต่างประเทศ, กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระราชวงศ์ที่ดำรงพระอิสริยศักดิ์สูง ทรงเศวตฉัตร ๗ ชั้น, เจ้าฟ้าซึ่งได้รับการเฉลิมพระยศ พิเศษ แต่ยังทรงฉัตร ๕ ชั้น

ที่มา : http://planet.kapook.com/hunsangkung/blog/viewnew/10829

วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553

จำตัวเลขใน พรฎ.บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

- พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546

- ให้ไว้ ณ วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2546

- เป็นปีที่ 58 ในรัชกาลปัจจุบัน

- เป้าหมายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมี 7 ประการ ( ป้ )  7 ขีด 7 ประการ
  หลักการจำ 
        1.ประโยชน์สุข
             1.1 ให้เกิดความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน
             1.2 ความสงบและความปลอดภัยของสังคมส่วนรวม
             1.3 ประโยชน์สูงสุดของประเทศ

       2. ผลสัมฤทธิ์
            2.1 การปฏิบัติของส่วนราชการต้องสามารถวัดผลสัมฤทธิ์ของภารกิจที่กระทำ ด้อย่างชัดเจน
            2.2 การบริหารราชการแบบบูรณาการ
            2.3 การพัฒนาส่วนราชการให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
            2.4 ความตกลงในการปฏิบัติงาน
            2.5 การกำหนดแผนบริหารราชการ

       3. ประสิทธิภาพ
            3.1 หลักความโปร่งใส
            3.2 หลักความคุ้มค่า
            3.3 หลักความชัดเจนในการปฏิบัติราชการ (หลักความรับผิดชอบ)

       4. ลดขั้นตอน One Stop Service
           4.1 การกระจายอำนาจการตัดสินใจ
           4.2 การจัดตั้งศูนย์บริการร่วม

       5. ทันเหตุการณ์
           5.1 การทบทวนความจำเป็น ความคุ้มค่าภารกิจ
           5.2 การทบทวน ปรับปรุง กฎหมาย กฎ ระเบียบให้เหมาะสม

       6. อำนวยความสะดวก
           6.1 การกำหนดระยะเวลาการปฏิบัติงาน
           6.2 การจัดระบบสารสนเทศ
           6.3 การรับฟังข้อร้องเรียน
           6.4 การเปิดเผยข้อมูล

       7. ประเมินผล

- ให้จัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน 90 วัน

- มี 4 หน่วยงานที่ต้องจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนี้
       1. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
       2. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
       3. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
       4. สำนักงบประมาณ

- แผนการบริหารราชการแผ่นดิน 4 ปี

- ในกรณีรายจ่ายต่อหน่วยสูงกว่ารายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการประเภทและคุณภาพเดียวกัน ให้ส่วนราชการนั้นจัดทำแผนการลดรายจ่าย ต่อหน่วยงานดังนี้ 3 หน่วย คือ
       1. สำนักงานงบประมาณ
       2. กรมบัญชีกลาง
       3. ก.พ.ร.

- หากไม่มีข้อทักท้วงประการใด ภายใน 15 วัน ก็ให้ส่วนราชการถือปฏิบัติตามแผนการลดรายจ่ายนั้นต่อไปได้

- ในการปฏิบัติภารกิจใด หากส่วนราชการจำเป็นต้องได้รับอนุญาต อนุมัติ ความเห็นชอบจากส่วนราชการอื่น ตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ให้ส่วนราชการที่มีอำนาจ แจ้งผลการพิจารณาภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ

- โดยส่วนราชการจะต้องตอบให้ทราบหรือแจ้งผลการดำเนินการภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับคำถามจากประชาชน