กฎ – ให้ใช้ ฎ ชฎา มักสะกดผิดเป็น “ฏ ปฏัก” คงไปนึกเทียบกับคำว่า ปรากฏ กบฏ
*หลักการจำ : ถ้าคำพยางค์เดียว ใช้ ฎ ชฎา แต่ถ้าคำสองพยางค์ ลงด้วย ฏ ปฏัก
กะทันหัน – ไม่มีตัว ร เรือ (ไม่ใช้ กระทันหัน ส่วน กะทัดรัด ก็เขียนแบบเดียวกัน)
*หลักการจำ : อะไรที่รีบเร่ง ด่วนๆ สั้น ๆ ให้ตัด ร เรือทิ้งไป ให้สั้นเข้าไว้
กะพริบ - เช่น กะพริบตา มักเขียนผิดเป็น “กระพริบ” กันมากด้วย
*หลักการจำ : วิธีการจำใช้หลักเดียวกับ กะทันหัน กะทัดรัด ให้นึกถึงลักษณะการกะพริบของไฟ หรือ กะพริบตา ซึ่งเวลาเรากะพริบตาก็ต้องทำเร็วๆ ไฟก็เช่นเดียวกันค่ะ
กังวาน (เสียง) - มักเขียนผิดเป็น “กังวาล”
ช็อก - สภาพที่ร่างกายเสียเลือดมาก, สะเทือนใจรุนแรง , ถูกกระแสไฟฟ้า เป็นคำใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า shock
*หลักการจำ : ช็อก = shock ลงท้ายด้วย ck คือตัว ก ไก่
เช็ก - ตรวจสิ่งต่าง ๆ เป็นคำใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า check (ส่วน “เช็ค” หมายความถึงพวกเช็คที่เป็นสมุด อย่างเช่นเขียนเช็คจ่ายสด มาจากคำอังกฤษว่า cheque)
*หลักการจำ : เช็ก = check ลงท้ายด้วย ck คือตัว ก ไก่
ตงิด - เช่น หิวตงิด ๆ ออกเสียงว่า “ตะหงิด” จึงมักเขียนผิดไปตามเสียงอ่าน
*หลักการจำ : วิธีการจำใช้หลักเดียวกับ กะทันหัน เวลาคนหิวก็ต้องรีบทานใช่มั้ยคะ ตัดสระอะออกไปค่ะ
เท่ - มักเขียนผิดเป็น “เท่ห์” (อย่างหลังนี่จะเขียนเป็น “สนเท่ห์” ที่แปลว่า สงสัย)
ปรานี - เอ็นดูด้วยความสงสาร มักเขียนผิดเป็น “ปราณี” ซึ่งจะผิดความหมายไปเลย เพราะ “ปราณี” หมายถึง ผู้มีชีวิต
* หลักการจำ : ปรานี ให้นึกถึง น หนู เพราะหนูน่ารัก น่าเอ็นดู นะคะ)
ปาฏิหาริย์ - (บางคนใช้ ปาฏิหาร แบบหารเลขมาเลย)
พรรค์ - เช่น คนพรรค์นั้น (ต้องมี ค์ ด้วยนะคะ)
มนตร์ - เช่น ร่ายมนตร์ เวทมนตร์ แต่คำว่า “มนต์” จะใช้เกี่ยวกับพิธีการทางศาสนา เช่น สวดมนต์
มุก - ทำให้ขบขัน เป็นคำเก็บใหม่ มักเขียนผิดเป็น “มุข”
เลือนราง - ไม่ชัดเจน , พอระลึกได้บ้าง
โลกันตร์ - ชื่อขุมนรกที่มีการลงโทษหนักที่สุด ไม่ผุดไม่เกิด มักเขียนผิดเป็น “โลกันต์”
สุ้มเสียง - โบราณเขียนเป็น “ซุ่มเสียง” (จะใช้อย่างหลังนี้ก็ได้ แต่ไม่นิยมกันแล้ว)
หน็อยแน่ - คำเปล่งไม่พอใจหรือผิดหวัง มักเขียนผิดเป็น “หนอยแน่”
หลับใหล - เช่น ในบทโคลงลิลิตพระลอว่า “สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤๅพี่”
เหงื่อกาฬ - เหงื่อของคนใกล้จะตาย โดยปริยายหมายถึง เหงื่อแตกด้วยความตกใจ
อาถรรพ์ - อำนาจลึกลับที่เชื่อว่าบันดาลให้มีความเป็นไป เช่น ต้องอาถรรพ์ มีอาถรรพ์ ใช้ว่า อาถรรพณ์ หรือ อาถรรพณะ ก็ได้ แต่นิยมใช้คำแรกมากกว่า เพราะเขียนและอ่านชัดเจนดี
กรรโชก - (ขู่เอาด้วยกิริยาหรือวาจาให้กลัว) ในคำว่า “ขู่กรรโชก” จะใช้ว่า “ขู่กระโชก” ก็ได้ เทียบกับ กระโชก (กระแทกเสียง) เช่น พูดกระโชก ลมกรรโชกแรง
กราบ - (ไม้เสริมแคบเรือ) เทียบกับ กาบ (เปลือกหุ้มผลหรือลำต้น) เช่น กาบมะพร้าว กาบกล้วย
กร่ำ - (เมาเรื่อยไป) เช่น เมากร่ำ ถ้าเป็น เมากรึ่ม (เมาตลอดวัน) ความหมายก็พอ ๆ กัน เทียบกับ ก่ำ (เข้ม , จัด , สุกใส) เช่น หน้าแดงก่ำ
กะโหลก - เช่น หุบเขาหัวกะโหลก (นึกเอาง่าย ๆ ก็ “กะโหลกกะลา”)
กำราบ - (ทำให้เข็ดหลาบ) แต่ด้วยความที่อ่านว่า “กำหราบ” จึงทำให้ใช้ผิดตามไปด้วย
เกม - ใช้เกี่ยวกับการแข่งขัน เช่น เกมคอมพิวเตอร์ เกมกีฬา ส่วน “เกมส์” ใช้ที่เป็นชื่อเฉพาะ เช่น เอเชียนเกมส์ ซีเกมส์
แก๊ง - (กลุ่มคนเป็นก๊กเป็นเหล่ากระทำการไม่ดี) มาจากภาษาอังกฤษว่า gang เช่น แก๊งโจร แก๊งอันธพาล มีใช้ผิดเป็น แก๊งค์ แก็ง
* หลักการจำ : ให้นึกถึงแก๊งสามช่า ช่อง 7 สี เลข 7 เลขไทยคือ ๗ ลักษณะเหมือนไม้ตรีค่ะ และคำภาษาอังกฤษ gang ตัว ng = ง ไม่มีตัว ค์
คณนา - (นับ) เช่น สุดที่จะคณนา หรือ “คณานับ” ก็ได้ เช่น สุดคณานับ
* หลักการจำ : ตัวพยัญชนะ ณ เณร มาก่อน น หนูค่ะ
คลุมเครือ - หมายถึง ไม่ชัดเจน ไม่ตรงประเด็น
* หลักการจำ : ครุม ไม่มีความหมาย , เคลือ ไม่มีความหมาย
เคร่งเครียด - (สมองไม่ได้พัก) เทียบกับ ตึงเครียด (ใกล้จะถึงขั้นแตกหัก) เช่น สถานการณ์ตึงเครียด
เคียดแค้น - (โกรธแค้น) เทียบกับ ขึ้งเคียด (โกรธอย่างชิงชัง)
ชะมัด - (มาก) เช่น เก่งชะมัด ใช้ “ชะมัดยาด” ก็ได้
ทโมน - เช่น ลิงทโมนป้อมอัศวิน
พลิ้ว - (บิด , เบี้ยว , สะบัดไปตามลม) เช่น บิดพลิ้ว ลมพลิ้ว
* หลักการจำ : ให้นึกถึงลมพัดใบไม้ปลิว ตัวอักษรพยัญชนะ ล ลิง นะคะ
พิศวาส - (รักใคร่ , สิเนหา) เช่น ไม่น่าพิศวาส มักใช้ผิดเป็น “พิสวาศ”
* หลักการจำ : ศ ศาลา มาก่อน ส เสือนะคะ
พิสมัย - (ความรัก, ความชื่นชม) มักใช้ผิดเป็น “พิศมัย”
* หลักการจำ : ศมัย ไม่มีความหมาย
ไย - ในคำที่ใช้ว่า จะช้าอยู่ไย ไยจึงไม่มา อย่าไปไยดี มักเขียนผิดเป็น “ใย”
ลออ - (งาม) เช่น นวลลออ , (ถี่ถ้วน , รอบคอบ) เช่น ละเอียดลออ มักใช้ผิดเป็น “ละออ”
ละเหี่ย - (อ่อนใจ , อิดโรย) เช่น อ่อนเพลียละเหี่ยใจ มักใช้ผิดเป็น “ระเหี่ย”
เวท - เข้าคู่กับคำว่า มนตร์ เป็น เวทมนตร์
สรร - เช่น เลือกสรร สรรสร้าง (แกล้งเลือก) สรรหา (เลือกมา)
สรรค์ - (สร้าง) มักเข้าคู่กับ “สร้าง” เป็น สร้างสรรค์ , สรรค์สร้าง เทียบกับ รังสรรค์ , รังสฤษฏ์ ที่หมายถึง สร้าง เหมือนกันค่ะ
สรรพางค์ - (ทั่วตัว) เข้าคู่กับ “กาย” เป็น สรรพางค์กาย
หลุบ - (ลู่ลงมา) เช่น ผมหลุบหน้า หลุบตา ไม่มีใช้ว่า หรุบ เทียบกับ หรุบ ๆ (สิ่งที่ร่วงพรูลงมา) เช่น ร่วงหรุบ ๆ
เหลอหลา - (มีหน้าตาเซ่อ) เช่น ทำหน้าเหลอหลา
แหยม - (ปอยผมที่เอาไว้เป็นกระจุกหรือหนวดไว้สองข้างริมฝีปาก) เช่น หนวดแหยม
แหย็ม - เป็นภาษาปากหมายถึง เข้าไปยุ่ง เช่น อย่าไปแหย็ม
อเปหิ, อัปเปหิ - ภาษาที่ใช้ทั่วไปหมายถึง ขับไล่
อัฒจันทร์ - (ที่นั่งเป็นขั้น ๆ สำหรับดูการแสดงหรือกีฬา เป็นรูปครึ่งวงกลม หรือชั้นที่ตั้งของขายเป็นขั้น ๆ)
อิริยาบถ - มักใช้ผิดเป็น “อิริยาบท”
อ้างอิง : http://www.kaweeclub.com/b20/t1452/
วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
อันนี้ล่ะตัวตัดคะแนนเลย หุหุ <-- Bb
ตอบลบมีเทคนิคการจำเยอะมากค่ะ ขอบคุณค่ะ แล้วพี่ปอยคะ อุดมคติข้อที่ 2 กรุณาปราณีต่อประชาชน น่ะค่ะ คำว่าปราณี ตัวนี้ใช้ยังไงคะ ...นกคะ
ตอบลบอยากมีชื่อในความทรงจำพี่ปอยจังคะ
ตอบลบคำถามนี้ดีมากเลยค่ะน้องนก
ตอบลบปราณี = ผู้มีชีวิต, สัตว์, คน
ปรานี = เอ็นดูด้วยความสงสาร
เพราะฉะนั้น อุดมคติข้อ 2 คือ กรุณาปรานีต่อประชาชน ค่ะ
เว็บอ้างอิง http://bbznet.pukpik.com/scripts2/view.php?user=techno&board=4&id=74&c=1&order=numtopic
จะสอบตำรวจไม่ติดก็เพราะภาษไทยนี่ล่ะครับ 555+
ตอบลบอยกทำให้ได้ไม่รู้จะทำอย่างไร
ตอบลบยากทราบว่า
ตอบลบคำที่ใช้ รร (ร หัน) เช่น บรรจง บรรจบ มีคำว่า _____สิ่ง
ใช้คำว่าอะไรข้างหน้าที่มีคำว่า (ร หัน) ช่วยหาให้หน่อยนะค่ะ
พี่ปอยคับ....ถ้าเค้าให้หาคำที่เขียนผิด แล้วให้ ปรานี กับ ปราณี มาจะรุ้ได้ไงว่า ต้องหมายถึงคำไหน ถ้ามีทั้งสองคำ
ตอบลบขอบคุณครับ
ตอบลบขอบคุณค่ะ
ตอบลบได้รับความรู้เพิ่มขึ้นเยอะเลยค่ะ
ตอบลบขอขอบพระคุณพี่ปอยมากค่ะ
moomas1001@hotmail.com
ขอบคุณมากๆครับ
ตอบลบชอบมากเลยครับได้ความรู้เพิ่มเติมด้วยครับ
ตอบลบ