วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เทคนิคการอ่านหนังสือสอบ

หวัดดีจ๊ะน้องทุกคน หลังจากพี่ปอยติดเรื่องการสอบได้ผ่านพ้นไปแล้ว พี่ปอยก็สัญญากับน้องบริพักต์ว่าจะนำเทคนิคการอ่านหนังสือสอบที่น้องบริพักต์ได้ใช้ในการสอบตำรวจที่ผ่านมา มาลงบล็อกให้น้องๆ ได้ดาวน์โหลดไปอ่านกัน

วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

ยินดีต้อนรับตำรวจใหม่ทุกท่าน

หวัดดีจ๊ะน้องๆทุกคน พี่ปอยไม่ได้เขียนบทความมานานแล้ว ตอนนี้เห็นน้องในบล็อกฝึกกันเสร็จแล้ว คงกำลังเริ่มปฏิบัติงานกันในแต่ละที่ หากใครมีปัญหาเรื่องการทำงาน ไม่เข้าใจ หรือสงสัยเกี่ยวกับอาชีพตำรวจ สามารถเขียนมาถามกันได้ค่ะ พี่ปอยจะพยายามเข้ามาเยี่ยมบล็อกบ่อยๆ คำถามไหนตอบได้ก็จะตอบ คำถามไหนตอบไม่ได้ พี่ปอยจะไปถามพี่ๆ ตำรวจที่เค้ามีอายุราชการนานๆ มาตอบให้น้องๆ ให้หายสงสัยนะคะ

วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การเป็นตำรวจเต็มตัว

        ขอให้น้องๆ พึงระลึกอยู่เสมอว่า การอยู่ในศูนย์ฝึกฯ ทางครูฝึก ได้มีการฝึกในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการฝึกความแข็งแรงของร่างกาย การฝึกความอดทน อดกลั้น การรับประทานอาหาร ฝึกการป้องกันตัว การใช้อาวุธ การเรียกแถว การยืนทำความเคารพ การเดินสวนสนาม การดันพื้น ฯลฯ ทุกๆ สิ่งที่น้องได้ทำ มันมีเหตุผลในตัวของมันเอง เมื่อน้องได้ผ่านการฝึกอบรมเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว โดยได้รับใบประกาศและติดยศแล้ว น้องก็จะได้เป็นตำรวจอย่างเต็มตัว และน้องจะรู้ว่าการฝึกที่ผ่านมานั้น มีประโยชน์สำหรับการรับราชการตำรวจ

การฝึกทดลองปฏิบัติราชการ

          การฝึกทดลองปฏิบัติราชการ จะมีการฝึกประมาณ 2 สัปดาห์ การแต่งกายนั้น จะแต่งเครื่องแบบตำรวจ โดยมีการวัดตัวและตัดชุดตอนที่อยู่ศูนย์ฝึกฯ ก่อนที่จะมีการปล่อยตัวให้นักเรียนอบรมฯ ออกไปฝึกปฏิบัติราชการตามต้นสังกัดนั้น ก็จะมีการเรียกประชุม และรับหนังสือส่งตัวกลับไป ซึ่งการรับราชการตำรวจนั้น ไม่ได้ง่ายอย่างที่ทุกคนคิด การจะไปอยู่ที่ไหนนั้น ทุกอย่างจะต้องมีลายลักษณ์อักษร เช่น การที่น้องจะเข้าไปศูนย์ฝึกฯ ทางต้นสังกัดก็จะทำหนังสือส่งตัวไปฝึกอบรม และความรับผิดชอบต่างๆที่เกี่ยวกับน้อง จะขึ้นอยู่กับทางศูนย์ฝึกฯ เมื่อมีการปล่อยตัวน้องๆ ออกจากศูนย์ฝึกฯ เพื่อไปเข้ารับการฝึกทดลองปฏิบัติราชการที่ต้นสังกัด ทางศูนย์ฝึกฯ จะต้องส่งตัวน้องๆ ออกไปที่ต้นสังกัด ทางต้นสังกัดก็จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่างๆ ที่เกี่ยวกับตัวน้องเอง

วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ใครบรรจุลงที่ไหน รายงานตัวด้วยนะคะ

       น้องๆ คงผ่านการเลือกตำแหน่งกันเรียบร้อยแล้วนะคะ พี่ปอยอยากจะรู้จังค่ะว่าใครได้บรรจุลงที่ไหนบ้าง และใครได้ฝึกที่ไหนบ้าง การฝึกนั้นเป็นอย่างไร หากมีโอกาสได้ออกมาจากศูนย์ฝึกฯ ก็เขียนมาเล่าให้เพื่อนๆ ในบล็อกดูบ้างนะคะ


วันพุธที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

กองบัญชาการทั้งส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการ

พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2552 มีผลบังคับใช้ 7 ก.ย. 52
          พี่ปอยเลือกเฉพาะ กองบัญชาการทั้งส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการ มาให้น้องๆดูว่า แต่ละหน่วยนั้น ประกอบด้วยฝ่าย/กอง อะไรบ้างนะคะ และให้น้องๆ จำตัวย่อที่อยู่ด้านหลังให้ดีๆ นะคะ เพราะเวลาเลือกตำแหน่งนั้น ในโพยตำแหน่งว่างจะมีเฉพาะตัวย่อค่ะ
          ในโพยตำแหน่งว่างจะปรากฎ ตำแหน่งให้เลือก ยกตัวอย่างเช่น 
           ผบ.หมู่ ฝ่ายอำนวยการ X บก.อก.บช.น. ตำแหน่งนี้จะอยู่ในกองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจนครบาล เรียกชื่อตำแหน่งเต็มๆ ว่า ผู้บังคับหมู่ฝ่ายอำนวยการ X กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจนครบาล
            ผบ.หมู่ ฝ่ายอำนวยการ X บก.อก.ปปป.บช.ส. ตำแหน่งนี้จะอยู่ใน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เรียกชื่อตำแหน่งเต็มๆ ว่า ผู้บังคับหมู่ฝ่ายอำนวยการ X กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง  เป็นต้น เห็นมั้ยคะว่าชื่อตำแหน่งมันยาว ดังนั้น ในโพยจึงกำหนดเป็นอักษรย่อค่ะ ปีที่แล้วมีหลายคนที่ไม่รู้ว่าตัวย่อต่างๆ หมายถึงที่ไหนบ้าง

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ตำแหน่งในกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (อก.2) ปี 2552

พี่ปอยกลับบ้านที่เชียงราย รีบค้นเอกสารเกี่ยวกับโพยตำแหน่งว่างของ อก.2 ปี 52 หาตั้งนานกว่าจะเจอ รีบเอามาให้น้องๆ ดูเป็นตัวอย่างค่ะ ปีที่แล้วมีทั้งหมด 800 ตำแหน่ง โชคดีที่มีของกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางด้วย ก็เลยเอามาให้น้องๆ ที่สอบในส่วนของ บช.ศ.ดูเป็นตัวอย่างนะคะ ปีนี้อาจจะเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย

วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การเรียนภาควิชาการ


วิชาที่พี่ปอยได้เรียนไปเยอะมากมายค่ะ มีดังต่อไปนี้

1. พลศึกษา

2. ป.วิอาญา

3. จริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ

4. ส่งกำลังบำรุง

5. การฝึกตามแบบตำรวจและยิงปืน


กองทัพต้องเดินด้วยท้อง

            เรื่องอาหารการกินในศูนย์ฝึกตำรวจภูธรภาค 6 อร่อยมากๆ ค่ะ แต่ละมื้อนั้น ทางศูนย์ฯ จะมีการกำหนดวันให้นักเรียนอบรม จำนวน 2 ชุด ชุดละ 2 คน ชุดที่ 1 ไปจ่ายตลาดพร้อมกับแม่ครัว เวลา 5.00 น. ไม่ต้องเข้ารับการฝึกในตอนเช้า โดยสวมชุดฝึกเสื้อแขนสั้นสีขาว มีชื่อที่เขียนด้วยปากกาเคมีติดหน้าอก กางเกงวอร์มสีดำ รองเท้าผ้าใบ ไปจ่ายตลาด และคนที่ไปจ่ายตลาดนี้เอง จะถูกบรรดาเพื่อนๆ ฝากซื้อของใช้ที่จำเป็น  ส่วนชุดที่ 2 จะทำหน้าที่ ตรวจสอบคุณภาพและชิมอาหาร

กิจกรรมการฝึกต่างๆ สำหรับนักเรียนอบรมตำรวจ


1. วิ่งออกกำลังกายตอนเช้า และเย็น


















วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ชุดต่างๆ ของนักเรียนอบรมตำรวจ



ทุกคนจะได้รับหมวก 1 ใบ สำหรับการฝึกทุกวัน หมวกใบนี้จะติดตัวน้องๆ ไปตลอดเวลา เพราะฉะนั้น ต้องหมั่นทำความสะอาดด้วย เพราะเหงื่อจะไปเกาะติดขอบหมวกเป็นคราบ เมื่อมีเวลาว่าง ต้องรีบซักหมวกทันที และผึ่งให้แห้ง เพื่อสวมใส่ต่อไป  (ส่วนหมวกที่อยู่ทางขวามือ เป็นหมวกทรงหม้อตาลค่ะ ใส่กับเครื่องแบบตำรวจ ให้ใส่ถุงเก็บไว้บนตู้ล็อคเกอร์ของแต่ละคน วางตำแหน่งเดียวกัน เรียงตามลำดับความสูงต่ำด้วยนะคะ)


น้องหมาผู้รักชาติ

ขอนอกเรื่องหน่อยนะคะ ที่ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 6 จะมีสุนัขอยู่ 2 ตัวที่คอยทำหน้าที่ประมาณว่าเป็น ผู้คุมแถว ของกองร้อย ขอแนะนำตัวผู้ก่อน ชื่อ ไอ้ตังค์ ชื่อเต็มพี่ก็ไม่แน่ใจนะคะว่าจะเป็น สะตังค์ หรือเปล่า สังกัดกองร้อยที่ 2 เพราะเจ้าของเป็นครูฝึกกองร้อย 2 แต่วันดีคืนดี ตังค์ก็เปลี่ยนบรรยากาศมาคุมกองร้อย 1 บ้าง 3 บ้าง แล้วแต่อารมณ์ของมันค่ะ อีกตัวหนึ่ง เป็นตัวเมียชื่อ จูดี้ ก็ทำหน้าที่เหมือนตังค์เช่นกัน





กองร้อยและโรงนอน


สภาพของกองร้อยที่พี่อยู่ วันแรกทุกคนจะต้องช่วยกันทำความสะอาดค่ะ เช็ดโต๊ะ กวาดพื้น ถูพื้น อ้อ อย่าลืมผ้าขี้ริ้วไปด้วยนะคะ ปีที่แล้วไม่มีใครบอกเรื่องผ้าขี้ริ้วให้นำติดไปด้วย พอดีพี่ปอยซื้อผ้าขนหนูผืนเล็กๆ ที่โลตัส แบบ 3 ผืนเล็ก ก็เลยต้องสละหนึ่งผืนเพื่อนำไปเป็นผ้าขี้ริ้วค่ะ ทุกคนต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือ คุณหนูๆ ทั้งหลายก็ต้องฝึกทำนะคะ เพราะเมื่อคุณมาอยู่ ณ ตรงนี้แล้ว ทุกคนมีฐานะเท่าเทียมกันหมด จะเกี่ยงงานไม่ได้ค่ะ เพราะจะถูกแอนตี้จากเพื่อนๆๆ นี่ก็เป็นการฝึกนักเรียนอบรม เพื่อที่จะให้อยู่ในสังคมโดยฐานะเท่าเทียมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การฝึกที่นี่ได้อะไรเยอะแยะค่ะ มันทำให้น้องๆ มีความอดทน อดกลั้น และมีระเบียบวินัยค่ะ

วันแรกของการฝึกอบรม

วันแรกของการฝึกอบรม ผู้ปกครองสามารถไปส่งได้ เพราะว่ามีสัมภาระ แต่ละคนก็หิ้วกระเป๋าเข้าศูนย์ฝึกหลายใบต่อคน การแต่งกาย ทางศูนย์ฝึกให้ใส่ชุดพละ คือ เสื้อยืดคอกลมสีดำล้วน กางเกงวอร์มสีดำล้วน รองเท้าผ้าใบ อันดับแรกคือดูประกาศติดอยู่ที่บอร์ด บอกว่าเลขที่เราอยู่กองร้อยอะไร เมื่อปีที่แล้ว พี่ปอยอยู่กองร้อยที่ 1 (401 – 51x) มีร้อยกว่าคน จำยอดจริงๆไม่ได้ จากนั้นก็เข้าไปรายงานตัว ณ กองร้อยที่เราได้ไปอยู่ ผบ.ร้อยจะให้เอาสัมภาระกองไว้ ส่วนผู้ปกครองก็ไปยืนอยู่ด้านหลัง เรียกให้นักเรียนอบรมทั้งหลายนั่งกะพื้น รอเพื่อนๆ มากันจนครบ จากนั้นก็เข้าแถวแล้วเดินไปเข้าสู่ห้องประชุมใหญ่เพื่อทำพิธีเปิดการฝึกอบรม

วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สิ่งของเครื่องใช้ในการฝึกอบรม หลักสูตร กปป. (สาย ปป. และสาย อก.)

สิ่งของเครื่องใช้ในการฝึกอบรม หลักสูตร กปป. (สาย ปป. และสาย อก.)
รายการที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องนำมาใช้ในวันรายงานตัวเข้าอบรม

ลำดับ                        รายการ                      จำนวน

1.       กางเกงวอร์มสีดำล้วนไม่มีลวดลาย   3 ตัว

2.      กางเกงนอนสีขาว (ชาย)   2 ตัว

3.      รองเท้าผ้าใบหุ้มส้นสีดำ (ไม่มีลวดลาย)   1 คู่

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เตรียมตัวสอบสัมภาษณ์

การสัมภาษณ์โดยทั่วไปแล้ว ก็เหมือนกับการสัมภาษณ์เข้าทำงาน ขอแนะนำเรื่องการแต่งกายเข้าสัมภาษณ์ก่อนนะคะ เสื้อสีสุภาพ สีอ่อนๆ เข้าไว้ เสื้ออย่าบางจนมองเห็นชั้นใน สวมกระโปรงไม่ต้องสั้น รองเท้าหุ้มส้น ผมรวบให้เรียบร้อย ไม่ต้องสยายผม แต่งหน้าอ่อน ๆ ให้แลดูสดใส ไม่ต้องเข้มมาก

วันอังคารที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วันรายงานตัวและชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง

        เมื่อปีที่แล้ว พี่ปอยก็เตรียมหลักฐานสำหรับการรายงานตัวแบบชนิดว่า ดับเบิ้ลเช็ค อ่ะค่ะ ให้แม่ช่วยเช็คเอกสารทุกอย่าง เพราะว่าพี่ปอยกลัวพลาดในวันรายงานตัว เดี๋ยวจะตกม้าตาย อุตส่าห์สอบผ่านข้อเขียนแล้ว พี่ปอยมักจะชอบเดินทางก่อนเวลานัดหมายค่ะ เพราะกลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น ก็เลยนั่งรถทัวร์ไปก่อนล่วงหน้าหนึ่งวัน หลักฐานทุกอย่างไม่ได้เก็บไว้ในสัมภาระเพราะกลัวว่า หากสัมภาระหายแล้วเราจะเตรียมหลักฐานใหม่ไม่ทัน ก็เลยเก็บไว้บนรถทัวร์หน้าที่นั่งของเรา

เตรียมเอกสารรายงานตัวก่อนวันเดินทาง

หลังจากการประกาศผลสอบ คงมีหลายคนที่สมหวังและผิดหวัง ขอแสดงความยินดีสำหรับน้องๆ ที่สอบผ่านนะคะ ส่วนน้องที่พลาดการสอบปีนี้ ก็คงเสียใจ แต่อย่าได้ท้อ มีอาชีพอีกหลายๆ อาชีพที่รอเราอยู่ ตั้งใจ มุ่งมั่นต่อไป สักวันเราต้องประสบความสำเร็จค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2553

มาแชร์ข้อสอบกัน

สอบผ่านไปแล้ว น้องๆ ทำข้อสอบกันได้หรือเปล่าคะ น้องๆ คนไหนที่พอจะจำข้อสอบกันได้ ลองเข้ามาแชร์ข้อสอบกันนะคะ

ต้องขอบใจ นู๋จ๋ากะตัวน้อย ได้ส่งไฟล์มาให้ค่ะ น้องๆสามารถดาวน์โหลดกันได้นะคะ   ดาวน์โหลด

วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553

การใช้ตำแหน่งทางวิชาการเป็นคำนำหน้านาม

ข้อสอบของปี 52 ที่ผ่านมา ออกสอบเรื่องการใช้ตำแหน่งทางวิชาการเป็นคำนำหน้านาม ซึ่งข้อนี้พี่ปอยทำไม่ได้ เพราะไม่ได้อ่านมา ดังนั้น พี่ปอยเลยจัดหามาให้จาก จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๕, เมษายน ๒๕๓๗ หากปีนี้ออกสอบอีก หวังว่าน้องๆ คงได้ 1 คะแนน นะคะ

วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553

แนวข้อสอบจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ

แนวข้อสอบนี้พี่เคยลงไว้ให้แล้ว บางคนอาจหาไม่เจอพี่เลยเอามาลงให้ใหม่นะคะ ชุดที่ 1 หามาจากในเว็บ จำไม่ได้แล้วว่าเว็บไหน ส่วนชุดที่ 2 พี่ปอยลองแต่งข้อสอบให้น้องๆ ทำดู ซึ่งเมื่อปีที่แล้ว ข้อสอบวิชานี้ก็ออกแนวๆ นี้ค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553

แนวข้อสอบคณิตศาสตร์ (อุปมาอุปไมย)

ปีที่แล้ววิชาคณิตศาสตร์ ออกสอบอุปมา อุปไมย หลายข้อ เพราะฉะนั้นพี่คิดว่า หากน้องๆ ได้ฝึกทำข้อสอบอุปมาอุปไมยบ่อยๆ น่าจะดี ฝึกคิดวิเคราะห์ให้ดีๆ นะคะ

วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2553

แนวข้อสอบวิชาภาษาไทย

พอดีวันนี้ว่างก็เลยเข้าหาแนวข้อสอบวิชาภาษาไทยให้น้องๆ ไปเจอแนวข้อสอบที่คล้ายๆกับข้อสอบวิชาภาษาไทยของปีที่แล้ว

วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2553

แนวข้อสอบวิชาคอมพิวเตอร์ Internet

ตามสัญญาที่ให้ไว้นะคะ รวบรวมแนวข้อสอบ Internet มาให้แล้ว

วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553

แนวข้อสอบวิชาคอมพิวเตอร์ Microsoft PowerPoint

ช่วงนี้มีเรียกเตรียมการณ์ที่ ตร. ค่ะ พี่เลยไม่มีเวลามาอัพเดตให้น้องๆ และต้องขออภัยด้วยที่ไม่ได้ตอบคำถามของน้องๆ นะคะ วันนี้ก็เลยเอาแนวข้อสอบคอมพิวเตอร์มาฝากค่ะ อ้อ วันพรุ่งนี้จะมีแนวข้อสอบ Internet ด้วยนะคะ ติดตามต่อพรุ่งนี้จ๊ะ หากสงสัยอยากทราบเรื่องใด ก็คอมเม้นต์ในบทความนี้เลยนะคะ บทความเดียวพอ แล้วพี่จะเข้ามาตอบค่ะ

วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553

แนวข้อสอบวิชาคอมพิวเตอร์ Microsoft Excel

ตามคำเรียกร้องของน้องๆ พี่พอจะหามาได้แค่นี้นะคะ ช่วงนี้ไม่ค่อยมีเวลาเลยค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2553

แนวข้อสอบวิชาคอมพิวเตอร์ Microsoft Word

มีน้องๆ หลายคนที่อยากได้แนวข้อสอบคอมพิวเตอร์นะคะ

วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553

ทดสอบตาบอดสี

ในขั้นตอนของการตรวจร่างกายของผู้สอบผ่านข้อเขียน มีการทดสอบตาบอดสีด้วย ซึ่งหากใครทดสอบไม่ผ่าน ก็ถือว่า สอบไม่ผ่าน โดยการทดสอบตาบอดสีนั้น มีหลายวิธี วิธีที่ได้รับความนิยมสูงสุดเห็นจะเป็นวิธีของ Prof. Dr. Shinobu Ishihara จาก Tokyo คือ แบบทดสอบที่มีวงกลมวงใหญ่และมีจุดสีเล็กๆ ข้างในจะซ่อนตัวเลขและเส้นเอาไว้ ให้ผู้ทดสอบอ่าน หากสามารถอ่าน และลากเส้นได้ถูกต้องทั้งหมด ถือว่าตาปกติ ทั้งนี้ได้นำมาให้ลองทดสอบ 12 แบบ
ตาปกติ และตาบอดสี จะอ่านได้หมายเลขเดียวกันคือ 12


ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 29
ตาบอดสีแดง-เขียวจะอ่านได้หมายเลข70
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านได้

ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 3
ตาบอดสีแดง-เขียวจะอ่านได้หมายเลข 5
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านได้
 
 
ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 74
ตาบอดสีแดง-เขียวจะอ่านได้หมายเลข 21
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้

ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 45
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านได้

ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 7
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้
 
ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 73
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้
 
 
ตาปกติจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้
ตาบอดสีแดง-เขียวจะอ่านได้หมายเลข 45
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้

ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 42


ตาปกติจะไม่สามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้
ตาบอดสีแดง-เขียว จะสามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้
ตาบอดสีจะไม่สามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้

ตาปกติจะสามารถลากเส้นตามสีส้มจาก X ไป X ได้
ตาบอดสีจะไม่สามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้ หรือลากได้ก็คนละเส้นทาง

ตาปกติจะสามารถลากเส้นตามสีม่วง ต่อกับสีส้ม จาก X ไป X ได้
ตาบอดสีแดง-เขียวจะลากเส้นตามสีม่วง ต่อกับสีฟ้า-เขียว จาก X ไป X ได้
ตาบอดสีจะไม่สามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้ หรือลากได้ก็คนละเส้นทาง
 
ที่มา : http://www.mmtc.ac.th/Entrance49/BlindTest.php

วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

พรก. และ กพร.

   ในช่วงประเทศไทยเราในบริบทของความเปลี่ยนแปลงในการบริหารราชการใหม่ ๆ ที่มีการผสมผสานแนวคิดทั้งจากการบริหารธุรกิจของเอกชน และการบริหารงานภาครัฐกิจ มีแนวโน้มที่จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่อง ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ และวิธีการทำงานของข้าราชการในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก ซึ่งการปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติราชการดังกล่าวปรากฏว่ายังมีการนำหลักการดังกล่าวไปปรับปรุงระบบและวิธีปฏิบัติงานในส่วนราชการไม่มากเท่าที่ควร ซึ่งจะมีผลต่อการบริหารบุคคลภาครัฐและการปรับปรุงโครงสร้างภาครัฐ และพัฒนาระบบการปฏิบัติงานในองค์กรต่าง ๆ ของราชการไทย ฯลฯ

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ เพื่อการพัฒนาระบบราชการไทยขึ้น โดยกำหนด เรียกว่า แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย(พ.ศ. 2546 - 2550)

คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2546 - 2550 ขึ้น โดยได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ใหม่ของการพัฒนาระบบราชการในช่วงระยะปี พ.ศ. 2546 - 2550 ว่า

“พัฒนาระบบราชการไทยให้มีความเป็นเลิศ สามารถรองรับกับการพัฒนาประเทศในยุคโลกาภิวัฒน์ โดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและประโยชน์สุขของประชาชน”

โดยกำหนดเป้าประสงค์ ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน และแนวทางการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ ไว้ดังนี้

เป้าประสงค์หลักของการพัฒนาระบบราชการไทย 4 ประการ

- พัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนที่ดีขึ้น

- ปรับบทบาท ภารกิจ และขนาดให้มีความเหมาะสม

- ยกระดับขีดความสามารถและมาตรฐานการทำงานให้อยู่ในระดับสูงเทียบเท่าเกณฑ์สากล

- ตอบสนองต่อการบริหารปกครองในระบอบประชาธิปไตย

ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย มี 7 ประการ ได้แก่

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงาน

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน

ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การรื้อปรับระบบการเงินและการงบประมาณ

ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การสร้างระบบบริหารงานบุคคลและค่าตอบแทนใหม่

ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยม

ยุทธศาสตร์ที่ 6 : การเสริมสร้างระบบราชการให้ทันสมัย

ยุทธศาสตร์ที่ 7 : การเปิดระบบราชการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม

    การจะนำยุทธศาสตร์ทั้ง 7 ไปสู่การปฏิบัติตามแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ต้องมีเครื่องมือต่าง ๆที่จะนำยุทธศาสตร์ทั้ง 7 ข้อนี้ ไปปฏิบัติ จึงต้องตราเป็นพระราชกฤษฏีกา (พรก. ) ขึ้น โดยอำนาจตามความในมาตรา 221 ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับหลักการตามมาตรา 3/1 และ มาตรา 71/10 (5) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5)พ.ศ. 2545 จึงเกิด พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ขึ้น

ฉะนั้นคงเข้าใจ คำว่า กพร. และ พรก.แล้วนะคะ

คัดลอกจาก คุณ von (ชะแล้ว)(vorapon_k@hotmail.com)

วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553

หนังสือราชการภาษาอังกฤษ

หนังสือราชการภาษาอังกฤษ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ หนังสือที่ลงชื่อ  และ  หนังสือที่มิต้องลงชื่อ

หนังสือที่ลงชื่อ มี 3 ชนิด ได้แก่

หนังสือราชการที่เป็นแบบพิธี (First Person Formal Note) มี 2 แบบ คือ แบบที่ใช้ในการติดต่อทางการทูตระหว่างส่วนราชการไทยกับส่วนราชการต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ และแบบที่ใช้ในการติดต่อระหว่างส่วนราชการไทยกับหน่วยงานทั่วไป

หนังสือราชการที่ไม่เป็นแบบพิธี (First Person Informal Note) ใช้ใน 2 กรณี คือ ส่วนราชการไทยมีไปถึงส่วนราชการต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ และ ส่วนราชการไทยมีไปถึงหน่วยงานเอกชน เป็นหนังสือที่เขียนโดยใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 และต้อง ลงชื่อ ใช้สำหรับเรื่องที่มีความสำคัญลดหลั่นมาจากหนังสือราชการที่เป็นแบบพิธี เช่น การสืบถามข้อความหรือขอทราบข้อเท็จจริงบางประการ นอกจากนั้น อาจใช้ติดต่อกับส่วนราชการ ต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศในกรณีที่ประสงค์จะเน้นความสัมพันธ์ส่วนบุคคล

หนังสือกลาง ( Third Person Note หรือ Note Verbale) คือ หนังสือราชการที่ใช้สรรพนามบุรุษที่ 3 และประทับตราชื่อส่วนราชการ โดยหัวหน้าส่วนราชการระดับกองหรือผู้ที่หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปมอบหมาย หนังสือประเภทนี้เป็นหนังสือที่ส่วนราชการไทยใช้ติดต่อกับส่วนราชการต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ โดยทั่วไปให้เขียนจากหน่วยงานถึงหน่วยงาน แต่ในบางกรณีอาจเขียนจากตำแหน่งถึงตำแหน่งก็ได้

หนังสือที่มิต้องลงชื่อ มี 2 ชนิด ได้แก่

บันทึกช่วยจำ ( Aide-Memoire) คือ หนังสือที่ใช้สำหรับยืนยันข้อความในเรื่องที่ได้สนทนา เช่น ชี้แจงข้อเท็จจริง ขอร้องเรื่องต่าง ๆ หรือประท้วงด้วยวาจา หรือแสดงท่าทีให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ โดยปกติใช้ยื่นให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งหรืออาจส่งไปโดยมีหนังสือนำส่งก็ได้

บันทึก ( Memorandum) คือ หนังสือที่ใช้สำหรับแถลงรายละเอียดหรือแสดงข้อเท็จจริง ให้ความเห็นหรือโต้แย้งหรือแสดงท่าที โดยปกติใช้ยื่นให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งหรืออาจส่งไปโดยมีหนังสือนำส่งก็ได้

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

คำราชาศัพท์ที่มักใช้เป็นประจำในหนังสือราชการ

       คำกริยาราชาศัพท์และคำนามราชาศัพท์ที่มีความหมายเดียวกัน แต่ใช้ต่างกันตามลำดับพระอิสริยศักดิ์ จะขอกล่าวเฉพาะคำที่มักใช้เป็นประจำในหนังสือราชการ

     คำสั่ง     พระบรมราชโองการ พระมหากษัตริย์
                    พระราชโองการ พระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระราชินีนาถต่างประเทศ
                    พระราชเสาวนีย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชินี, สมเด็จพระบรมราชชนนี
                    พระเสาวนีย์ สมเด็จพระราชินี และพระราชินี ต่างประเทศ
                    พระราชบัณฑูร, พระราชดำรัสสั่ง สมเด็จพระยุพราช
                    พระราชบัญชา, พระราชดำรัสสั่ง สมเด็จพระบรมราชกุมารี
                    พระราชดำรัสสั่ง, พระบัญชา พระราชวงศ์ ,สมเด็จพระสังฆราช

     คำพูด    พระราชดำรัส, พระราชกระแส พระมหากษัตริย์ ,พระราชวงศ์ชั้นสูง
                    พระดำรัส, ตรัส, รับสั่ง พระราชวงศ์

     คำสอน  พระบรมราโชวาท พระมหากษัตริย์
                    พระราโชวาท พระราชวงศ์ชั้นสูง
                    พระโอวาท พระราชวงศ์

     อุปถัมภ์  พระบรมราชูปถัมภ์ พระมหากษัตริย์
                    พระบรมราชินูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระราชินี
                    พระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมราชชนนี, สมเด็จพระยุพราช, สมเด็จพระบรมราชกุมารี
                    พระอุปถัมภ์ พระราชวงศ์

     อนุเคราะห์  พระบรมราชานุเคราะห์ พระมหากษัตริย์
                          พระราชานุเคราะห์ พระราชวงศ์ชั้นสูง
                          พระอนุเคราะห์ พระราชวงศ์

      คำวินิจฉัย  พระบรมราชวินิจฉัย พระมหากษัตริย์ที่ทรงรับพระบรมราชาภิเษกแล้ว
                          พระราชวินิจฉัย พระมหากษัตริย์ทั่วไป สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และพระราชวงศ์
                                 ที่ดำรงพระอิสริยศักดิ์สูงทรงเศวตฉัตร ๗ ชั้น
                          พระวินิจฉัย พระราชวงศ์ชั้นเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า

      ความคิด   พระราชดำริ พระมหากษัตริย์ และ พระราชวงศ์ชั้นสูง
                         พระดำริ พระราชวงศ์

      รู้     ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท พระมหากษัตริย์ , สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
             ทราบฝ่าละอองพระบาท พระบรมวงศ์ชั้นสูง
             ทราบฝ่าพระบาท, ทรงทราบ พระราชวงศ,์ พระองค์เจ้า, หม่อมเจ้า

      ให้   พระราชทาน พระมหากษัตริย์ และพระราชวงศ์ ตั้งแต่ชั้นเจ้าฟ้าขึ้นไป
              ประทาน พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า
      ให้   ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์
              (ของเล็ก) ชั้นสูง น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย (ของใหญ่หรือของจำนวนมาก) ถวาย (สิ่งที่เป็นนามธรรม)

      ถวาย พระราชวงศ,์ พระสงฆ์

      ตาย สวรรคต, เสด็จสวรรคต พระมหากษัตริย์ และพระราชวงศ์ ชั้นสูง
              ทิวงคต, เสด็จทิวงคต พระมหากษัตริย์ต่างประเทศ, กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระราชวงศ์ที่ดำรงพระอิสริยศักดิ์สูง ทรงเศวตฉัตร ๗ ชั้น, เจ้าฟ้าซึ่งได้รับการเฉลิมพระยศ พิเศษ แต่ยังทรงฉัตร ๕ ชั้น

ที่มา : http://planet.kapook.com/hunsangkung/blog/viewnew/10829

วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553

จำตัวเลขใน พรฎ.บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

- พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546

- ให้ไว้ ณ วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2546

- เป็นปีที่ 58 ในรัชกาลปัจจุบัน

- เป้าหมายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมี 7 ประการ ( ป้ )  7 ขีด 7 ประการ
  หลักการจำ 
        1.ประโยชน์สุข
             1.1 ให้เกิดความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน
             1.2 ความสงบและความปลอดภัยของสังคมส่วนรวม
             1.3 ประโยชน์สูงสุดของประเทศ

       2. ผลสัมฤทธิ์
            2.1 การปฏิบัติของส่วนราชการต้องสามารถวัดผลสัมฤทธิ์ของภารกิจที่กระทำ ด้อย่างชัดเจน
            2.2 การบริหารราชการแบบบูรณาการ
            2.3 การพัฒนาส่วนราชการให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
            2.4 ความตกลงในการปฏิบัติงาน
            2.5 การกำหนดแผนบริหารราชการ

       3. ประสิทธิภาพ
            3.1 หลักความโปร่งใส
            3.2 หลักความคุ้มค่า
            3.3 หลักความชัดเจนในการปฏิบัติราชการ (หลักความรับผิดชอบ)

       4. ลดขั้นตอน One Stop Service
           4.1 การกระจายอำนาจการตัดสินใจ
           4.2 การจัดตั้งศูนย์บริการร่วม

       5. ทันเหตุการณ์
           5.1 การทบทวนความจำเป็น ความคุ้มค่าภารกิจ
           5.2 การทบทวน ปรับปรุง กฎหมาย กฎ ระเบียบให้เหมาะสม

       6. อำนวยความสะดวก
           6.1 การกำหนดระยะเวลาการปฏิบัติงาน
           6.2 การจัดระบบสารสนเทศ
           6.3 การรับฟังข้อร้องเรียน
           6.4 การเปิดเผยข้อมูล

       7. ประเมินผล

- ให้จัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน 90 วัน

- มี 4 หน่วยงานที่ต้องจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนี้
       1. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
       2. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
       3. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
       4. สำนักงบประมาณ

- แผนการบริหารราชการแผ่นดิน 4 ปี

- ในกรณีรายจ่ายต่อหน่วยสูงกว่ารายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการประเภทและคุณภาพเดียวกัน ให้ส่วนราชการนั้นจัดทำแผนการลดรายจ่าย ต่อหน่วยงานดังนี้ 3 หน่วย คือ
       1. สำนักงานงบประมาณ
       2. กรมบัญชีกลาง
       3. ก.พ.ร.

- หากไม่มีข้อทักท้วงประการใด ภายใน 15 วัน ก็ให้ส่วนราชการถือปฏิบัติตามแผนการลดรายจ่ายนั้นต่อไปได้

- ในการปฏิบัติภารกิจใด หากส่วนราชการจำเป็นต้องได้รับอนุญาต อนุมัติ ความเห็นชอบจากส่วนราชการอื่น ตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ให้ส่วนราชการที่มีอำนาจ แจ้งผลการพิจารณาภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ

- โดยส่วนราชการจะต้องตอบให้ทราบหรือแจ้งผลการดำเนินการภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับคำถามจากประชาชน

วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

จำเกี่ยวกับตัวเลขใน พรบ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547

- ชื่อ พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547

- ให้ไว้ ณ วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2547

- ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2547 เล่มที่ 121 ตอนที่ 18 ก

- ใช้บังคับวันถัดจากวันประกาศฯคือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2547

- เป็นปีที่ 59 ในรัชกาลปัจจุบัน

- ก.ต.ช.โดยตำแหน่งประกอบด้วย 7 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คน วาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ไม่เกิน 2 วาระ

- แต่งตั้งข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจโทขึ้นไป 1 คน เป็นเลขานุการ ก.ต.ช.

- แต่งตั้งข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจตรีขึ้นไปจำนวนไม่เกิน 2 คนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ ก.ต.ช.

- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.ต.ช. เชี่ยวชาญ 4 ด้านคือ กฎหมาย การงบประมาณ การพัฒนาองค์กร การวางแผน หรือการบริหารและจัดการ

- คุณสมบัติของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.ต.ช. คือ อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีบริบูรณ์

- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.ต.ช. พ้นจากตำแหน่งเมื่อ มีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์

- ก.ต.ช. มีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมดให้พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีความประพฤติเสื่อมเสีย

- ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้ดำเนินการสรรหาและแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการแทน เว้นแต่วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะเหลือไม่ถึง 90 วัน ในกรณีนี้จะไม่ดำเนินการให้มีการสรรหาก็ได้

- ก.ต.ช. มีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจึงจะเป็นองค์ประชุม

- ตำแหน่ง 13

- ยศ 14

- ชั้นข้าราชการ 3

- ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งไม่เป็นข้าราชการตำรวจ ของ ก.ตร. จำนวน 6 คน

- กรรมการ ก.ตร. ซึ่งเคยเป็นข้าราชการตำรวจ หากได้พ้นจากความเป็นข้าราชการตำรวจไปแล้วเกิน10 ปีและมีอายุไม่เกิน 65 ปี

- ข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ (ก.ตร.) มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี วาระเดียว

- ก.ตร. มีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการข้าราชการตำรวจทั้งหมดให้พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากมีความประพฤติเสื่อมเสีย

- การดำรงตำแหน่งของ ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิที่ดำรงตำแหน่งแทน หากมีกำหนดเวลาไม่ถึง 2 ปี ไม่ให้นับเป็นวาระการดำรงตำแหน่ง

- ในกรณีที่ ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิจะพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้ดำเนินการเลือก ผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ภายใน 60 วันก่อนวันครบวาระ

- การประชุม ก.ตร. ต้องมีกรรมการข้าราชการตำรวจมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการข้าราชการตำรวจทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม

- ให้ประธานกรรมการ ก.ตร. เป็นผู้เรียกประชุม แต่ในกรณีที่ ก.ตร. ไม่น้อยกว่า 6 คนร้องขอให้เรียกประชุม ให้ประธานกรรมการ ก.ตร. เรียกประชุมภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับร้องขอ

- ผู้ที่จะได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตำรวจ ต้องมีคุณสมบัติ มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์

- การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ คำนึงถึง (เรียงตามลำดับ)

1. ความอาวุโส

2. ประวัติการรับราชการ

3. ผลการปฏิบัติงาน

4. ความประพฤติ

5. ความรู้ความสามารถประกอบกัน

- ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุอันสมควร เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง หรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกิน 15 วันโดยไม่มีเหตุอันสมควร (ถ้า 15 วัน ไม่ผิด)

- โทษทางวินัยมี 7 สถาน (ให้ออก ไม่ใช่โทษทางวินัย)

- การลงโทษทัณฑกรรม ไม่เกิน 6 ชั่วโมงต่อ 1 วัน

- การลงโทษกักยามหรือกักขัง ไม่เกิน 6 ชั่วโมงต่อ 1 วัน

- เมื่อข้าราชการตำรวจถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงให้ผู้บังคับบัญชานำสำนวนการสืบสวนข้อเท็จจริง ให้พิจารณาสั่งการให้แล้วเสร็จภายใน 240 วันนับแต่วันได้รับสำนวน

- หากการพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวก็ให้ขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกิน 2 ครั้ง โดยแต่ละครั้งจะต้องไม่เกิน 60 วัน

- เมื่อมีเหตุจำเป็นจะต้องกักตัวข้าราชการตำรวจซึ่งถูกกล่าวหาไว้เพื่อประโยชน์ในการสอบสวน ต้องไม่เกิน 15 วัน

- ข้าราชการตำรวจผู้ใดถูกสอบสวนในกรณีกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง แม้ต่อมาข้าราชการตำรวจผู้นั้นจะออกจากราชการไปแล้วก็ให้ทำการสอบสวนต่อไปได้ แต่ต้องดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีนับแต่วันออกจากราชการ

- ข้าราชการตำรวจผู้ใดมีกรณีที่อาจถูกสืบสวนหรือสอบสวนว่ามีการกระทำผิดวินัยแต่ได้ออกจากราชการก่อนดำเนินการสืบสวนหรือสอบสวน หากภายหลังได้กลับเข้ารับราชการใหม่ภายใน 5 ปี ให้ผู้บังคับบัญชา ดำเนินการสั่งให้มีการสืบสวนหรือสอบสวนต่อไป

- ในกรณีที่ข้าราชการตำรวจขอลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งที่กำหนดโดยรัฐธรรมนูญ ตำแหน่งทางการเมืองหรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ให้การลาออก มีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก

- หากผู้บังคับบัญชาเห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ จะยับยั้งการลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกิน 3 เดือนนับแต่วันขอลาออกก็ได้

- ข้าราชการตำรวจผู้ใดถูกสั่งลงโทษหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ ภายใน 30 วันนับแต่วันทราบคำสั่ง

- ระยะเวลาการพิจารณาอุทธรณ์ ให้พิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 240 วันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์

- หากการพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวก็ให้ขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกิน 2 ครั้ง โดยแต่ละครั้งจะต้องไม่เกิน 60 วัน

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ฝึกหัดทำข้อสอบตำรวจของปีที่แล้ว

          ไม่ได้เขียนบทความมาหลายวัน เนื่องจากติดภารกิจค่ะ ตอนนี้น้องๆ คงกำลังเตรียมตัวกันอย่างขมักเขม้น ขอให้ตั้งใจอ่านหนังสือให้มาก ๆ นะคะ อ่านหลายๆ รอบยิ่งดี สำหรับคนที่อยากจะฝึกทำข้อสอบของปีที่แล้ว พี่ปอยแนะนำให้เข้าเว็บของติวเตอร์ภูมินะคะ http://www.club-edu.com/  ให้เข้าไปที่แนวข้อสอบใหม่ อยู่ด้านซ้ายมือ เลือกตำรวจชั้นประทวน (สายอำนวยการ) ==> ข้อสอบออนไลน์ ==> ตรวจคำตอบ ข้อสอบตำรวจชั้นประทวนสายอำนวยการ ปี 2552 (86 ข้อ) จะรวมข้อสอบของปีที่แล้วเอาไว้ มีเฉลยด้วยค่ะ
        

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ ประกอบด้วยใครกันบ้าง

คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “ก.ต.ช.”
ก.ต.ช.โดยตำแหน่งประกอบด้วย

- นายกรัฐมนตรี           เป็นประธานกรรมการ              นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

- รมว.มหาดไทย                     กรรมการ                     นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล

-ปลัดกระทรวงมหาดไทย              “                           นายมานิต วัฒนเสน

-รมว.ยุติธรรม                                “                           นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค

-ปลัดยุติธรรม                                “                           นายกิตติพงษ์ กิตติยารักษ์

-เลขาธิการ สมช.                          “                           นายถวิล เปลี่ยนศรี

-ผบ.ตร.                                         “                           พล.ต.อ. ปทีป ตันประเสริฐ (รรท.ผบ.ตร.)

ก.ต.ช.ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน

ให้ประธานกรรมการ โดยคำแนะนำของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แต่งตั้งข้าราชการตำรวจเป็น

         เลขานุการ ก.ต.ช.            ==>      ยศ พล.ต.ท. ขึ้นไป

        ผู้ช่วยเลขานุการ ก.ต.ช.    ==>      ยศ พล.ต.ต. ขึ้นไป ไม่เกินสองคน

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย

กฎ – ให้ใช้ ฎ ชฎา มักสะกดผิดเป็น “ฏ ปฏัก” คงไปนึกเทียบกับคำว่า ปรากฏ กบฏ
         *หลักการจำ : ถ้าคำพยางค์เดียว ใช้ ฎ ชฎา แต่ถ้าคำสองพยางค์ ลงด้วย ฏ ปฏัก

กะทันหัน – ไม่มีตัว ร เรือ (ไม่ใช้ กระทันหัน ส่วน กะทัดรัด ก็เขียนแบบเดียวกัน)
                     *หลักการจำ : อะไรที่รีบเร่ง ด่วนๆ สั้น ๆ ให้ตัด ร เรือทิ้งไป ให้สั้นเข้าไว้

กะพริบ - เช่น กะพริบตา มักเขียนผิดเป็น “กระพริบ” กันมากด้วย
               *หลักการจำ : วิธีการจำใช้หลักเดียวกับ กะทันหัน กะทัดรัด ให้นึกถึงลักษณะการกะพริบของไฟ หรือ กะพริบตา ซึ่งเวลาเรากะพริบตาก็ต้องทำเร็วๆ ไฟก็เช่นเดียวกันค่ะ

กังวาน (เสียง) - มักเขียนผิดเป็น “กังวาล”

ช็อก - สภาพที่ร่างกายเสียเลือดมาก, สะเทือนใจรุนแรง , ถูกกระแสไฟฟ้า เป็นคำใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า shock
             *หลักการจำ : ช็อก = shock ลงท้ายด้วย ck คือตัว ก ไก่

เช็ก - ตรวจสิ่งต่าง ๆ เป็นคำใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า check (ส่วน “เช็ค” หมายความถึงพวกเช็คที่เป็นสมุด อย่างเช่นเขียนเช็คจ่ายสด มาจากคำอังกฤษว่า cheque)
            *หลักการจำ : เช็ก = check ลงท้ายด้วย ck คือตัว ก ไก่

ตงิด - เช่น หิวตงิด ๆ ออกเสียงว่า “ตะหงิด” จึงมักเขียนผิดไปตามเสียงอ่าน
           *หลักการจำ : วิธีการจำใช้หลักเดียวกับ กะทันหัน เวลาคนหิวก็ต้องรีบทานใช่มั้ยคะ ตัดสระอะออกไปค่ะ

เท่ - มักเขียนผิดเป็น “เท่ห์” (อย่างหลังนี่จะเขียนเป็น “สนเท่ห์” ที่แปลว่า สงสัย)

ปรานี - เอ็นดูด้วยความสงสาร มักเขียนผิดเป็น “ปราณี” ซึ่งจะผิดความหมายไปเลย เพราะ “ปราณี” หมายถึง ผู้มีชีวิต
              * หลักการจำ : ปรานี ให้นึกถึง น หนู เพราะหนูน่ารัก น่าเอ็นดู นะคะ)

ปาฏิหาริย์ - (บางคนใช้ ปาฏิหาร แบบหารเลขมาเลย)

พรรค์ - เช่น คนพรรค์นั้น (ต้องมี ค์ ด้วยนะคะ)

มนตร์ - เช่น ร่ายมนตร์ เวทมนตร์ แต่คำว่า “มนต์” จะใช้เกี่ยวกับพิธีการทางศาสนา เช่น สวดมนต์

มุก - ทำให้ขบขัน เป็นคำเก็บใหม่ มักเขียนผิดเป็น “มุข”

เลือนราง - ไม่ชัดเจน , พอระลึกได้บ้าง

โลกันตร์ - ชื่อขุมนรกที่มีการลงโทษหนักที่สุด ไม่ผุดไม่เกิด มักเขียนผิดเป็น “โลกันต์”

สุ้มเสียง - โบราณเขียนเป็น “ซุ่มเสียง” (จะใช้อย่างหลังนี้ก็ได้ แต่ไม่นิยมกันแล้ว)

หน็อยแน่ - คำเปล่งไม่พอใจหรือผิดหวัง มักเขียนผิดเป็น “หนอยแน่”

หลับใหล - เช่น ในบทโคลงลิลิตพระลอว่า “สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤๅพี่”

เหงื่อกาฬ - เหงื่อของคนใกล้จะตาย โดยปริยายหมายถึง เหงื่อแตกด้วยความตกใจ

อาถรรพ์ - อำนาจลึกลับที่เชื่อว่าบันดาลให้มีความเป็นไป เช่น ต้องอาถรรพ์ มีอาถรรพ์ ใช้ว่า อาถรรพณ์ หรือ อาถรรพณะ ก็ได้ แต่นิยมใช้คำแรกมากกว่า เพราะเขียนและอ่านชัดเจนดี

กรรโชก - (ขู่เอาด้วยกิริยาหรือวาจาให้กลัว) ในคำว่า “ขู่กรรโชก” จะใช้ว่า “ขู่กระโชก” ก็ได้ เทียบกับ กระโชก (กระแทกเสียง) เช่น พูดกระโชก ลมกรรโชกแรง

กราบ - (ไม้เสริมแคบเรือ) เทียบกับ กาบ (เปลือกหุ้มผลหรือลำต้น) เช่น กาบมะพร้าว กาบกล้วย

กร่ำ - (เมาเรื่อยไป) เช่น เมากร่ำ ถ้าเป็น เมากรึ่ม (เมาตลอดวัน) ความหมายก็พอ ๆ กัน เทียบกับ ก่ำ (เข้ม , จัด , สุกใส) เช่น หน้าแดงก่ำ

กะโหลก - เช่น หุบเขาหัวกะโหลก (นึกเอาง่าย ๆ ก็ “กะโหลกกะลา”)

กำราบ - (ทำให้เข็ดหลาบ) แต่ด้วยความที่อ่านว่า “กำหราบ” จึงทำให้ใช้ผิดตามไปด้วย

เกม - ใช้เกี่ยวกับการแข่งขัน เช่น เกมคอมพิวเตอร์ เกมกีฬา ส่วน “เกมส์” ใช้ที่เป็นชื่อเฉพาะ เช่น เอเชียนเกมส์ ซีเกมส์

แก๊ง - (กลุ่มคนเป็นก๊กเป็นเหล่ากระทำการไม่ดี) มาจากภาษาอังกฤษว่า gang เช่น แก๊งโจร แก๊งอันธพาล มีใช้ผิดเป็น แก๊งค์ แก็ง
             * หลักการจำ : ให้นึกถึงแก๊งสามช่า ช่อง 7 สี เลข 7 เลขไทยคือ ๗ ลักษณะเหมือนไม้ตรีค่ะ และคำภาษาอังกฤษ  gang   ตัว ng = ง  ไม่มีตัว ค์

คณนา - (นับ) เช่น สุดที่จะคณนา หรือ “คณานับ” ก็ได้ เช่น สุดคณานับ
               * หลักการจำ : ตัวพยัญชนะ ณ เณร มาก่อน น หนูค่ะ

คลุมเครือ - หมายถึง ไม่ชัดเจน ไม่ตรงประเด็น
                    * หลักการจำ : ครุม ไม่มีความหมาย , เคลือ ไม่มีความหมาย

เคร่งเครียด - (สมองไม่ได้พัก) เทียบกับ ตึงเครียด (ใกล้จะถึงขั้นแตกหัก) เช่น สถานการณ์ตึงเครียด

เคียดแค้น - (โกรธแค้น) เทียบกับ ขึ้งเคียด (โกรธอย่างชิงชัง)

ชะมัด - (มาก) เช่น เก่งชะมัด ใช้ “ชะมัดยาด” ก็ได้

ทโมน - เช่น ลิงทโมนป้อมอัศวิน

พลิ้ว - (บิด , เบี้ยว , สะบัดไปตามลม) เช่น บิดพลิ้ว ลมพลิ้ว
              * หลักการจำ : ให้นึกถึงลมพัดใบไม้ปลิว ตัวอักษรพยัญชนะ ล ลิง นะคะ

พิศวาส - (รักใคร่ , สิเนหา) เช่น ไม่น่าพิศวาส มักใช้ผิดเป็น “พิสวาศ”
                * หลักการจำ : ศ ศาลา มาก่อน ส เสือนะคะ

พิสมัย - (ความรัก, ความชื่นชม) มักใช้ผิดเป็น “พิศมัย”
               * หลักการจำ : ศมัย ไม่มีความหมาย

ไย - ในคำที่ใช้ว่า จะช้าอยู่ไย ไยจึงไม่มา อย่าไปไยดี มักเขียนผิดเป็น “ใย”

ลออ - (งาม) เช่น นวลลออ , (ถี่ถ้วน , รอบคอบ) เช่น ละเอียดลออ มักใช้ผิดเป็น “ละออ”

ละเหี่ย - (อ่อนใจ , อิดโรย) เช่น อ่อนเพลียละเหี่ยใจ มักใช้ผิดเป็น “ระเหี่ย”

เวท - เข้าคู่กับคำว่า มนตร์ เป็น เวทมนตร์

สรร - เช่น เลือกสรร สรรสร้าง (แกล้งเลือก) สรรหา (เลือกมา)

สรรค์ - (สร้าง) มักเข้าคู่กับ “สร้าง” เป็น สร้างสรรค์ , สรรค์สร้าง เทียบกับ รังสรรค์ , รังสฤษฏ์ ที่หมายถึง สร้าง เหมือนกันค่ะ

สรรพางค์ - (ทั่วตัว) เข้าคู่กับ “กาย” เป็น สรรพางค์กาย

หลุบ - (ลู่ลงมา) เช่น ผมหลุบหน้า หลุบตา ไม่มีใช้ว่า หรุบ เทียบกับ หรุบ ๆ (สิ่งที่ร่วงพรูลงมา) เช่น ร่วงหรุบ ๆ

เหลอหลา - (มีหน้าตาเซ่อ) เช่น ทำหน้าเหลอหลา

แหยม - (ปอยผมที่เอาไว้เป็นกระจุกหรือหนวดไว้สองข้างริมฝีปาก) เช่น หนวดแหยม

แหย็ม - เป็นภาษาปากหมายถึง เข้าไปยุ่ง เช่น อย่าไปแหย็ม

อเปหิ, อัปเปหิ - ภาษาที่ใช้ทั่วไปหมายถึง ขับไล่

อัฒจันทร์ - (ที่นั่งเป็นขั้น ๆ สำหรับดูการแสดงหรือกีฬา เป็นรูปครึ่งวงกลม หรือชั้นที่ตั้งของขายเป็นขั้น ๆ)

อิริยาบถ - มักใช้ผิดเป็น “อิริยาบท”

อ้างอิง : http://www.kaweeclub.com/b20/t1452/

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่น่าสนใจ

ก๊าซ Gas

แก๊ง Gang

คอนเสิร์ต Concert

คอนกรีต Concrete

คอมมิวนิสต์ Communist

คลินิก Clinic

คาทอลิก Catholic

เค้ก Cake

แคลอรี Calorie

คุกกี้ Cookie

โควตา Quota

ช็อกโกแลต Chocolate

เซนติเมตร Centimeter

เซ็นชื่อ Sign

ดอกเตอร์ Doctor

เต็นท์ Tent

ทอฟฟี่ Toffee

เทคโนโลยี Technology

เทคนิค Technique

แท็กซี่ Taxi

แท็งก์ Tank

โน้ต Note

ไนต์คลับ Nightclub

แบงก์ Bank

ปิกนิก Picnic

เปอร์เซ็นต์ Percent

พลาสติก Plastic

มิลลิเมตร Millimeter

เมตร Meter

รีไซเคิล Recycle

รีสอร์ต Resort

ลิฟต์ Lift

วิดีโอ Video (คำว่า วิดีโอ วิธีจำ สระอิ มาก่อนสระอี)

เวิล์ด World

อพาร์ตเมนต์ Apartment

ออกซิเจน Oxygen

ไอศกรีม Ice-cream

โอลิมปิก Olympic

เฮิรตซ์ Hertz

ที่มา : http://www.scribd.com/doc

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ก่อนลงสนามสอบต้องเตรียมอะไรบ้าง?

อุปกรณ์นำเข้าห้องสอบ

1. ดินสอดำเบอร์ 2B ขึ้นไป แนะนำให้เหลาปลายดินสอทั้งสองข้าง (พี่ใช้ 3B ค่ะเข้มดี)

2. ปากกาสีน้ำเงินหรือสีดำ

3. ยางลบดินสอ

4. บัตรประจำตัวสอบ

5. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ที่ไม่หมดอายุ)

         หมายเหตุ นำรูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 2 รูปไปด้วย กรณีทำบัตรประจำตัวสอบหาย จะได้ทำใหม่ และติดต่อกองอำนวยการประจำสนามสอบนั้นๆ ก่อนเวลาเรียกเข้าห้องสอบ ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง
         กรณีบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐหาย ต้องมีใบบันทึกแจ้งความมาแสดง

ข้อห้ามในการนำเข้าห้องสอบ

1. เครื่องคำนวณเลข

2. กระดาษหรือตำรา

3. อาวุธ

4. เครื่องมือสื่อสาร

5. โทรศัพท์มือถือ

6. อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด

7. เครื่องประดับ ต่างหู สร้อยคอ กำไล แหวน

8. นาฬิกาข้อมือ

9. อุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะทุกชนิด

การแต่งกาย

1. แต่งกายสุภาพชน (ชาย เสื้อเชิ้ตสีสุภาพ กางเกงสแลค ,  หญิง เสื้อสีสุภาพ กระโปรงตามประเพณีนิยม ไม่ต้องสั้นนะคะ จะได้นั่งทำข้อสอบแบบสบายๆ สำหรับผู้หญิงก็เตรียมยางรัดผม กิ๊บดำติดผมด้วยนะคะ)

2. ห้ามสวมรองเท้าแตะ

3. ห้ามใส่กางเกงขาสั้น

         ก่อนเข้าห้องสอบ ฝากกระเป๋า ของมีค่า หนังสือทุกชนิด ไว้ที่ญาติหรือเพื่อนที่มาส่ง และเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อยก่อนเข้าห้องสอบค่ะ และไม่มีการรับฝากหรืออนุญาตให้วางไว้ภายในอาคาร

อย่าลืมไปสำรวจเส้นทางไปสนามสอบ และผังที่นั่งสอบให้เรียบร้อยก่อนสอบ 1 วันนะคะ

วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การใช้สำนวนโวหาร

สำนวนโวหารในภาษาไทย แบ่งออกเป็น 5 คือ
1) บรรยายโวหาร
          เล่าเรื่อง หรืออธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ตามลำดับเหตุการณ์ เขียนตรงไปตรงมา รวบรัด ได้แก่ การเขียนอธิบายประเภทต่าง ๆ เช่น เขียนรายงานวิทยานิพนธ์ ตำรา บทความ การเขียนเพื่อเล่าเรื่อง เช่น บันทึก จดหมายเหตุ การเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นประเภทบทความเชิงวิจารณ์ ข่าว เป็นต้น
          ตัวอย่างบรรยายโวหาร
          พ่อเดินเข้าหากอไผ่ป่า เลือกตัดลำเท่าขามาสองปล้อง ทำเป็นกระบอก คัดเห็ดดอกใหญ่ไปล้างในลำห้วยจนสะอาด บรรจุลงในกระบอกไม้ไผ่จนแน่น ไม่ต้องใส่น้ำ เติมเกลือและเติมน้ำพริกลงไปพอเหมาะ ก่อไฟเผากระบอกไม้ไผ่นั้น ไม่นานนักเห็ดก็ขับน้ำออกมาเดือดปุด ๆ

2) พรรณนาโวหาร
          มุ่งให้ความแจ่มแจ้ง ละเอียดลออ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ซาบซึ้งเพลิดเพลินไปกับข้อความนั้นการเขียนพรรณาโวหารจึงยาวกว่าบรรยายโวหารมาก มุ่งให้ภาพ และอารมณ์ จึงมักใช้การเล่นคำ เล่นเสียง ใช้ภาพพจน์ เต็มด้วยสำนวนโวหารที่ไพเราะ อ่านได้รสชาติ
          ตัวอย่างพรรณนาโวหาร
          วันเพ็ญ พระจันทร์สีนวลจ้าส่องแสงอยู่วงรัศมีสีขาว น้ำขึ้นเต็มฝั่ง นิ่งไม่กระดุกกระดิก แต่เป็นเงาแวววาวเหมือนถาดเงินใบใหญ่ที่ขัดมัน ทางฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ตอนหนึ่งมีต้นลำพูต้นใหญ่

3) เทศนาโวหาร
          โวหารที่ผู้เขียนมุ่งจะสั่งสอนคุณธรรมหรือจรรโลงใจผู้อ่านหรือปลุกใจ จูงใจให้ผู้อ่านคล้อยตาม
          ตัวอย่างเทศนาโวหาร
          ทำอะไรก็อย่าทำด้วยความอยากมีอยากเป็น อยากได้นั่นอยากได้นี่ แต่เราทำไปตามหน้าที่ของเรา เรามีหน้าที่อะไรก็ทำหน้าที่นั้นให้สมบูรณ์ ให้เรียบร้อย ไม่ต้องมีความอยากจะได้ อยากจะเป็นก็ทำได้ ทำเพราะสำนึกในหน้าที่ มันเป็นเหตุให้กระตุ้นเตือนให้กระทำเพราะความสำนึกว่าเราเกิดเพื่อหน้าที่ หรือคำพูดที่เคยพูดบ่อย ๆ ว่า “งานคือชีวิต ชีวิตคืองานบันดาลสุข ทำงานให้สนุก เป็นสุขขณะทำงาน”

4) สาธกโวหาร
          โวหารที่มุ่งให้ความชัดเจน โดยการยกตัวอย่างเพื่ออธิบายให้แจ่มแจ้งหรือสนับสนุนความคิดเห็นที่เสนอให้หนักแน่น น่าเชื่อถือ
          ตัวอย่างสาธกโวหาร
                                         โยคีเทศนาทหารทัพลังกาและเมืองผลึกในเรื่องพระอภัยมณี
                                        คือรูปรสกลิ่นเสียงไม่เที่ยงแท้              ย่อมเฒ่าแก่เกิดโรคโศกสงสาร
                                        ความตายหนึ่งพึงเห็นเป็นประธาน        หวังนิพพานพ้นทุกข์สุขสบาย
                                        ซึ่งบ้านเมืองเคืองเข็ญถึงเช่นนี้             เพราะโลกีย์ตัณหาพาฉิบหาย
                                        อันศีลห้าว่าอย่าทำให้จำตาย                จะตกอบายภูมิขุมนรก

5) อุปมาโวหาร
          โวหารเปรียบเทียบ โดยกตัวอย่าง สิ่งที่คล้ายคลึงกันมาเปรียบเพื่อให้เกิดความชัดเจนด้านความหมาย ด้านภาพ และเกิดอารมณ์ ความรู้สึกมากยิ่งขึ้น อุปมาโวหารมักจะปรากฏพร้อมกับพรรณนานาโวหารเสมอ
          ตัวอย่างอุปมาโวหาร
          เช้าวันต่อมา พระอาทิตย์ทอแสงอันแจ่มใสเมื่อรุ่งอรุณ น้ำฝนที่ติดอยู่ตามใบไม้ กอหญ้าต้องแสงอาทิตย์เป็นประกาย เมฆฝนที่ทะมึนอยู่เมื่อกลางคืนเหลือในสภาพเหมือนปุยนุ่นเล็ก ๆ ที่ถูกลมพัดปลิวไปติดขอบฟ้า นกยางฝูงหนึ่งบินผ่านท้องน้ำตรงคุ้งสำเภาไปอย่างเชื่องช้า มุ่งหน้าไปหากินกลางทุ่ง ธรรมชาติลืมโทสะที่บังเกิดขึ้นเมื่อตอนกลางคืนนั้นแล้วสิ้นและเริ่มวันใหม่ด้วยอาการอันแจ่มใสเหมือนกับเด็กที่ยิ้มเบิกบานทั้งน้ำตา

ที่มา : http://www.kr.ac.th/tech/nittaya48/writh50.html
          http://www.kru-itth.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=191880&Ntype=4

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ตำแหน่ง 13 ยศ 14

ตำแหน่งข้าราชการตำรวจมี 13 ตำแหน่ง

(1) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ  (ผบ.ตร.)

(2) จเรตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ  (จตช.) และ (รอง ผบ.ตร.)

(3) ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ  (ผู้ช่วย ผบ.ตร.)

(4) ผู้บัญชาการ (ผบช.)

(5) รองผู้บัญชาการ  (รอง ผบช.)

(6) ผู้บังคับการ และพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญพิเศษ  (ผบก.)

(7) รองผู้บังคับการ และพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญ (รอง ผบก.)

(8) ผู้กำกับการ และพนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ (ผกก.)

(9) รองผู้กำกับการ และพนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ (รอง ผกก.)

(10) สารวัตร และพนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการ  (สว.)

(11) รองสารวัตร และพนักงานสอบสวน (รอง สว.)

(12) ผู้บังคับหมู่  (ผบ.หมู่)

(13) รองผู้บังคับหมู่ (รอง ผบ.หมู่)

ยศตำรวจมี 14 ชั้นยศ

(1) พลตำรวจเอก (พล.ต.อ.) เรียกตามตำแหน่ง

(2) พลตำรวจโท (พล.ต.ท.) เรียกตามตำแหน่ง

(3) พลตำรวจตรี (พล.ต.ต.)  เรียกตามตำแหน่ง

(4) พันตำรวจเอก (พ.ต.อ.)  เรียกตามตำแหน่ง

(5) พันตำรวจโท (พ.ต.ท.)  เรียกตามตำแหน่ง

(6) พันตำรวจตรี  (พ.ต.ต.)  เรียก สารวัตร

(7) ร้อยตำรวจเอก  (ร.ต.อ.)  เรียก ผู้กอง

(8) ร้อยตำรวจโท  (ร.ต.ท.)  เรียก  หมวด

(9) ร้อยตำรวจตรี  (ร.ต.ต.)  เรียก หมวด

(10) ดาบตำรวจ  (ด.ต.)  เรียก ดาบ

(11) จ่าสิบตำรวจ  (จ.ส.ต.)  เรียก จ่า

(12) สิบตำรวจเอก  (ส.ต.อ.)  เรียก หมู่

(13) สิบตำรวจโท  (ส.ต.ท.)  เรียก หมู่

(14) สิบตำรวจตรี (ส.ต.ต.)  เรียก หมู่

ว่าที่ยศใดให้ถือเสมือนมียศนั้น ถ้าผู้ซึ่งมียศตำรวจเป็นหญิง ให้เติมคำว่า “หญิง”ท้ายยศตำรวจนั้นด้วย

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การแต่งตั้งผู้รักษาการในตำแหน่ง การรักษาราชการแทน และการปฏิบัติราชการแทน

ข้อ 1 การรักษาการในตำแหน่ง
          ถ้าตำแหน่งข้าราชการตำรวจใดว่างลง และยังมิได้แต่งตั้งผู้ใดให้ดำรงตำแหน่งนั้นหรือผู้ดำรงตำแหน่งใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นครั้งคราวให้ผู้บังคับบัญชาดังต่อไปนี้มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการตำรวจซึ่งเห็นสมควรรักษาในตำแหน่งนั้นชั่วคราวได้
          (1) รัฐมนตรี สำหรับตำแหน่งผู้บัญชาการหรือเทียบผู้บัญชาการขึ้นไป
          (2) อธิบดี สำหรับตำแหน่งตั้งแต่รองผู้บัญชาการหรือเทียบรองผู้บัญชาการลงมา
          (3) ผู้บังคับบัญชาซึ่งได้รับมอบหมายจากอธิบดี สำหรับตำแหน่งตั้งแต่ผู้กำกับการหรือเทียบผู้กำกับการลงมา โดยที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งได้รับมอบหมายจากอธิบดีมีอำนาจสั่งให้ข้าราชการตำรวจซึ่งเห็นสมควรรักษาการณ์ในตำแหน่งชั่วคราวได้ จึงมอบหมายให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้
          ก. ให้ผู้บัญชาการหรือเทียบผู้บัญชาการ มีอำนาจสั่งแต่งตั้งข้าราชการตำรวจรักษาการณ์ในตำแหน่งสารวัตรหรือเทียบสารวัตรลงมาได้ทุกหน่วยในปกครองบังคับบัญชา
          ข. การสั่งให้รักษาการณ์ในตำแหน่งตาม ก. จะสั่งได้เฉพาะกรณีตำแหน่งนั้นว่างลง และยังมิได้แต่งตั้งผู้ใดไปดำรงตำแหน่งนั้นหรือผู้ดำรงตำแหน่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้มีกำหนดระยะเวลาตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป

ข้อ 2 การรักษาราชการแทน
          ในกรณีที่ไม่มีการแต่งตั้งผู้รักษาการณ์ในตำแหน่งตามมาตรา 26 และมีผู้ดำรงตำแหน่งรองให้ผู้ดำรงตำแหน่งรองรักษาราชการแทน ถ้าผู้ดำรงตำแหน่งรองไม่มี หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้และมีผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยให้ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีผู้ดำรงตำแหน่งรองหรือผู้ช่วยหลายคน ให้ผู้มีอาวุโสตามที่ ก.ตร. กำหนดเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองหรือผู้ช่วยหรือมีแต่ ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้ผู้ที่ดำรงตำแหน่งถัดลงไปซึ่งเป็นนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรผู้มีอาวุโสสูงตามที่ ก.ตร. กำหนดเป็นผู้รักษาราชการแทนเกี่ยวกับการกำหนดลำดับอาวุโสของข้าราชการตำรวจในการรักษาราชการแทนได้มีข้อกำหนด ก.ตร. กำหนดไว้ดังนี้
          ก. กรณีที่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองหรือผู้ช่วยหลายคน ให้ถือลำดับอาวุโสของผู้ดำรงตำแหน่ง รองหรือผู้ช่วยที่จะรักษาราชการแทนดังนี้
          (1) ผู้มียศสูงกว่า
          (2) ถ้ามียศเท่ากัน ให้ผู้ที่มีอัตราเงินเดือนสูงกว่า
          (3) ถ้ามียศและอัตราเงินเดือนเท่ากัน ให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งก่อน
          (4) ถ้าดำรงตำแหน่งพร้อมกัน ให้ผู้ที่ได้ยศนั้นก่อน
          (5) ถ้าได้รับยศและตำแหน่งพร้อมกัน ให้ผู้มีอายุราชการสูงกว่า
          (6) ถ้าอายุราชการเท่ากัน ให้ผู้มีอายุตัวสูงกว่า

          ข. กรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองหรือผู้ช่วย หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้ถือลำดับอาวุโสของผู้ที่จะรักษาราชการแทนดังนี้
          (1) ตำแหน่งถัดลงไปให้ถือตามลำดับตำแหน่งความในมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ.2521 และตำแหน่งที่เทียบเท่ากับตำแหน่งดังกล่าวตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
          (2) ถ้าตำแหน่งถัดลงไปมีผู้ดำรงตำแหน่งหลายคน ให้ถือลำดับอาวุโสของผู้ที่จะรักษาราชการแทนตามข้อ 1

ข้อ 3 การปฏิบัติราชการแทน
          ในกรณีส่วนราชการใดมีผู้ดำรงตำแหน่งรองหรือผู้ช่วย หรือมีทั้งผู้ดำรงตำแหน่งรองหรือผู้ช่วยหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้รักษาราชการในตำแหน่งใหม่ หรือผู้รักษาราชการแทนหัวหน้าส่วนราชการนั้นจะมอบหมาย หรือมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งรองหรือผู้ช่วยปฏิบัติราชการแทนหัวหน้าส่วนราชการนั้นก็ได้

ข้อ 4 อำนาจของผู้รักษาการณ์ในตำแหน่ง ผู้รักษาราชการแทน และผู้ปฏิบัติราชการแทน
          ให้ผู้รักษาการณ์ในตำแหน่ง หรือ ผู้รักษาราชการแทน หรือ ผู้ปฏิบัติราชการแทน มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งนั้น หรือผู้ซึ่งตนแทน หรือผู้ซึ่งมอบหมายหรือมอบอำนาจแล้วแต่กรณีในกรณีที่มีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรือคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดเป็นกรรมการหรือให้มีอำนาจหน้าที่อย่างใด ให้ผู้รักษาการณ์ในตำแหน่ง ผู้รักษาราชการแทนหรือผู้ปฏิบัติราชการแทน ทำหน้าที่กรรมการหรือมีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งนั้นในระหว่างที่รักษาการณ์ในตำแหน่งรักษาราชการแทนหรือปฏิบัติราชการแทนด้วยแล้วแต่กรณี

          ทราบกันแล้วนะคะว่าการแต่งตั้งผู้รักษาการในตำแหน่ง การรักษาราชการแทน  และการปฏิบัติราชการแทน มีความหมายอย่างไร ในกรณีของสำนักงานตำรวจแห่งชาตินั้น ยังไม่มีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งเป็น ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพราะฉะนั้น นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งแต่งตั้งให้ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ จเรตำรวจแห่งชาติ ขึ้นรักษาราชการแทน ผบ.ตร. ใช้ตัวย่อว่า รรท.ผบ.ตร. ค่ะ

                            ตัวอย่างการลงนาม

                                                         พล.ต.อ.
                                                                       (ปทีป ตันประเสริฐ)
                                                                         จตช.รรท.ผบ.ตร.

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงสร้างใหม่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

        น้องๆ มาทำความรู้จักกับโครงสร้างใหม่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2552 มีผลบังคับใช้ 7 ก.ย.52 แบ่งเป็น

        36 หน่วยงาน แบ่งเป็น กองบัญชาการ 30 หน่วยงาน   กองบังคับการ 6 หน่วยงาน

        ก. สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (สง.ผบ.ตร.) แบ่งส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่า กองบัญชาการ และ กองบังคับการ ดังนี้ (14 หน่วยงาน)
     กองบัญชาการ
     1. สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ (สยศ.ตร.)
     2. สำนักงานส่งกำลังบำรุง (สกบ.)
     3. สำนักงานกำลังพล (สกพ.)
     4. สำนักงานงบประมาณและการเงิน (สงป.)
     5. สำนักงานกฎหมายและคดี (กมค.)
     6. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (สง.ก.ตร.)
     7. สำนักงานจเรตำรวจ (จต.)
     8. สำนักงานตรวจสอบภายใน (สตส.)

     กองบังคับการ
     1. สำนักงานเลขานุการตำรวจแห่งชาติ (สลก.ตร.)
     2. กองการต่างประเทศ (ตท.)
     3. กองสารนิเทศ (สท.)
     4. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (สง.ก.ต.ช.)
     5. กองบินตำรวจ (บ.ตร.)
     6. กองวินัย (วน.)

     ข. กองบัญชาการทั้งส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการ ดังต่อไปนี้ (22 หน่วยงาน)
     1. กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.)
     2. ตำรวจภูธรภาค 1 (ภ.1)
     3. ตำรวจภูธรภาค 2 (ภ.2)
     4. ตำรวจภูธรภาค 3 (ภ.3)
     5. ตำรวจภูธรภาค 4 (ภ.4)
     6. ตำรวจภูธรภาค 5 (ภ.5)
     7. ตำรวจภูธรภาค 6 (ภ.6)
     8. ตำรวจภูธรภาค 7 (ภ.7)
     9. ตำรวจภูธรภาค 8 (ภ.8)
     10. ตำรวจภูธรภาค 9 (ภ.9)
     11. ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศชต.)
     12. กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.)
     13. กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.)
     14. กองบัญชาการตำรวจสันติบาล (บช.ส.)
     15. สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.)
     16. กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (บช.ตชด.)
     17. สำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ (สง.นรป.)
     18. สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ (สพฐ.ตร.)
     19. สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (สทส.)
     20. กองบัญชาการศึกษา (บช.ศ.)
     21. โรงเรียนนายร้อยตำรวจ (รร.นรต.)
     22. โรงพยาบาลตำรวจ (รพ.ตร.)

     หลังจากที่ได้ทราบกันแล้วว่ามีหน่วยงานไหนบ้างที่เป็น กองบัญชาการ (บช.) หรือหน่วยงานไหนบ้างที่เป็น บก. (กองบังคับการ) แล้ว บางทีข้อสอบอาจจะถามว่า ตำรวจภูธรภาคที่ท่านสอบ เป็นกองบัญชาการ หรือกองบังคับการ คุณคงรู้คำตอบแล้วนะคะว่าคืออะไร

     หลักการจำง่ายๆ ค่ะ บช. มี 30 หน่วยงาน ส่วน บก. มี 6 หน่วยงาน คุณก็จำเพียงแค่ 6 หน่วยงานเท่านั้นก็พอที่เป็น บก. ถ้าบังเอิญข้อสอบถามว่า หน่วยงานไหนเป็น บช. หรือ บก. แล้ว รับรองได้ว่าคุณได้ข้อนี้ 1 คะแนน

หลักการจำง่าย ๆ

     เรียงลำดับหน่วยงานจากเล็กไปหาใหญ่

                                            กองกำกับการ   ==>   กองบังคับการ  ==>  กองบัญชาการ

     เรียงตามลำดับพยัญชนะ        ก ไก่                         ค ควาย                     ช ช้าง

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

อุดมคติตำรวจ

ใครท่องอุดมคติตำรวจได้ รับรองได้ว่า ได้เปรียบในเรื่องข้อสอบของวิชาจริยธรรม และ กฎ ก.ตร. ว่าด้วยประมวลจริยธรรม และจรรยาบรรณของตำรวจ พ.ศ. 2551 เพราะปีที่แล้วมีข้อสอบเกี่ยวกับอุดมคติตำรวจด้วยค่ะ ขั้นตอนการสอบสัมภาษณ์ กรรมการอาจจะให้คุณท่องอุดมคติตำรวจ 9 ข้อให้ฟังก็ได้นะคะ

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

รูปถ่ายนั้น สำคัญไฉน

          มาคุยกันเรื่องรูปถ่ายที่ใช้ในการสมัครสอบตำรวจกันนะคะ รูปถ่ายที่ใช้ในการสมัครสอบตำรวจ ปีนี้ไม่เหมือนกับปีที่แล้ว ซึ่งปีที่แล้วใช้รูปถ่ายในการสมัคร 3 รูป แต่ปีนี้ให้ใช้วิธีสแกนรูปเป็นไฟล์ jpg

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แนวข้อสอบตำรวจสายอำนวยการ (ลิงก์ใหม่)

           จากบทความก่อนๆ ได้กล่าวถึงแนวข้อสอบตำรวจของแต่ละวิชาโดยรวมนะคะ บทความนี้จะมาแจกแนวข้อสอบตำรวจสายอำนวยการ ดาวน์โหลดได้เลยค่ะ

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เตรียมพร้อมก่อนตรวจร่างกาย

         หลังจากการประกาศผลการสอบผ่านข้อเขียนแล้ว ฉันก็ต้องเตรียมตัวในการเข้ารับการตรวจร่างกายจากโรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งในประกาศก็ระบุวัน เวลา สถานที่นัดหมายเรียบร้อย อันดับแรกที่ฉันทำคือ ซื้อยาถ่ายพยาธิมาทาน แล้วก็ได้ข้อมูลมาจากเภสัช เภสัชบอกว่ายาที่โฆษณาทานเม็ดเดียวฆ่าพยาธิได้นั้น มันฆ่าได้ไม่หมด เภสัชเลยจัดยาถ่ายประเภททาน 3 วัน รับรองว่าพยาธิตายเรียบ

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

มาสำรวจร่างกาย ก่อนเป็นตำรวจกันเถอะ

      วันนี้เราจะมาคุยกันถึงเรื่องการเตรียมความพร้อมให้กับร่างกายกันนะคะ ในกรณีที่คุณสอบผ่านข้อเขียนกันแล้ว
     เรื่องแรกที่สำคัญก็คือ เรื่องการสัก มีน้องๆ หลายคนที่ชื่นชอบในการสัก แต่ขอบอกว่า ถ้าใครอยากเป็นตำรวจแล้วหล่ะก็ ที่คิดไว้ว่าจะสัก ให้หยุดความคิดนั้นเสีย เพราะว่ามันมีผลในการตรวจร่างกายค่ะ ถ้าพบรอยสักตามร่างกายของเรานั้น กรรมการไม่ให้ผ่านการตรวจร่างกายค่ะ ปีที่แล้วมีหลายคนที่สัก ก็ตก น่าเสียดายอย่างมาก อุตส่าห์สอบแข่งขันผ่านแล้ว

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เทคนิคการอ่านวิชาจริยธรรมและกฎ ก.ตร. พ.ศ.2551

ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) (คะแนนเต็ม 60 คะแนน)
จริยธรรมและกฎ ก.ตร. ว่าด้วยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ พ.ศ.2551 10 ข้อ
                 ข้อสอบวิชานี้ ถือได้ว่ายากพอสมควร เพราะเป็นการวิเคราะห์คำตอบเหมือนกับข้อสอบวิชา พรบ.ตำรวจ พ.ศ.2547 ดิฉันยกตัวอย่างข้อสอบของปีที่แล้วให้ดูนะคะ

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เทคนิคการอ่านวิชาพรบ.ตำรวจ พ.ศ.2547

ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) (คะแนนเต็ม 60 คะแนน)
พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 (ลักษณะ 1-5 และลักษณะ 6 หมวด 1, 5, 7-9 จำนวน 10 ข้อ
ยกตัวอย่างข้อสอบของปีที่แล้วนะคะ ถือได้ว่าไม่ยากสำหรับคนที่เตรียมตัวมาดี